ตั้งครรภ์
      Diabetes banner

      เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

      Diabetes banner

      เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

      เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์ได้ การวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จะช่วยป้องกันการลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆ ได้ 

      เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ มีกี่ลักษณะ?

      เบาหวานกับการตั้งครรภแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้:

      1. เป็นเบาหวานอยู่แล้วก่อนจะตั้งครรภ์ (Pre-Gestational Diabetes Mellitus หรือ Pre-GDM) ซึ่งพบได้ทั้งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 การเป็นเบาหวานอยู่แล้วก่อนการตั้งครรภ์ จะมีความรุนแรงมากกว่า โดยตัวโรคจะมีผลต่อการสร้างอวัยวะของทารกในครรภ์ซึ่งอาจผิดปกติ และทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ง่าย
      2. เกิดเบาหวานขณะกำลังตั้งครรภ์ Gestational Diabetes Mellitus หรือGDM) พบประมาณ 12.9% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด มักพบหลังตั้งครรภ์ได้ 24 -28 สัปดาห์ อาจทำให้ทารกตัวโต คลอดยาก ไหล่ติด และแท้งในระยะใกล้คลอด

      กลุ่มเสี่ยงโอกาสเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้สูง:

      • แม่ตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 35 ปี
      • มีประวัติเบาหวานในครอบครัว
      • แท้งบุตรบ่อยๆ
      • มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน หรือคลอดลูกหนักตั้งแต่ 4,000 กรัมขึ้นไป
      • คลอดบุตรหลายคน

      ผลกระทบของการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

      ผลเสียต่อเด็ก:

      • ความผิดปกติแต่กำเนิด มักพบในเด็กที่เกิดจากแม่ที่เป็นเบาหวานมาก่อน หรือเป็นเบาหวานขณะท้องอ่อนๆ ในระยะที่ทารกในครรภ์กำลังสร้างอวัยวะ เช่น ไม่มีไต โรคหัวใจผิดปกติ โรคทางสมอง ไม่มีแขนขา ซึ่งถ้าความผิดปกติมากอาจทำให้ เกิดการแท้งบุตรในที่สุด
      • การแท้งบุตร เป็นผลจากภาวะน้ำตาลสูงในเลือดในแม่ ถ้าแท้งขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก มักเกิดจากความผิดปกติอย่างรุนแรงของทารก
      • เด็กตัวใหญ่ น้ำหนักแรกคลอดเกิน 4,000 กรัม  ทำให้คลอดยากติดไหล่  ซึ่งป้องกันโดยการผ่าตัดคลอด
      • น้ำคร่ำมากผิดปกติ 
      • คลอดก่อนกำหนด ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดประมาณ 8 เท่าของคนที่ไม่เป็นเบาหวาน อาจเนื่องจากภาวะตั้งครรภ์เป็นพิษในแม่ ภาวะเสี่ยงอื่นๆ 
      • เด็กคลอดออกมาแล้วมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

      ผลเสียต่อแม่:

      • แม่มีโอกาสเป็นเบาหวานหลังคลอดประมาณ 2.6-70% โดยทั่วไปมักเกิดภาย ใน 5 ปีหลังเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามมีโอกาสเกิดเบาหวานหลัง 10 ปีไปแล้วก็ได้
      • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ พบได้ประมาณ 12-19.6%
      • ภาวะครรภ์เป็นพิษ
      • มีโอกาสตกเลือดหลังคลอด

      ดูแลอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์และมีภาวะเบาหวาน

      ควรได้รับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด ส่วนวิธีการควบคุมน้ำตาลที่สำคัญ ได้แก่ การควบคุมอาหารอย่างเข้มงวด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่หากการควบคุมดังกล่าวไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องใช้ยาอินซูลินฉีดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล

      ในการควบคุมอาหารนั้น หญิงตั้งครรภ์ควรลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลหรือแป้ง) และเพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน (เนื้อสัตว์) และผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักใบเพราะมีใยอาหารและวิตามินมาก ส่วนผักพวกหัวและถั่วต่าง ๆ จะมีสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและพลังงานมากกว่าผักใบ ส่วนนมนั้นควรรับประทานนมสดชนิดจืดและพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย ควรงดหรือหลีกเสี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมนั้น สามารถปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ดูแลและนักโภชนาการได้ตลอดเวลาระหว่างการตั้งครรภ์

      ในระหว่างการฝากครรภ์ แพทย์อาจนัดตรวจครรภ์บ่อยกว่าปกติเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของทั้งมารดาและทารก รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลเพื่อประเมินและปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสม

      คำนวณอายุครรภ์

      กรุณาระบุวันครบกำหนดคลอด

      กรุณาระบุไม่เกิน 40 สัปดาห์
      ไม่ทราบวันครบกำหนดคลอด

      คำนวณวันครบกำหนดคลอด

      กรุณาระบุวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

      คุณระบุไม่ถูกต้อง

      รอบประจำเดือนของคุณอยู่ในช่วงกี่วัน

      คำนวณวันครบกำหนดคลอด

      วันครบกำหนดคลอดคือ

      8 april 2018

      อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

      อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

      อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

      ต้องการข้อมูลอัพเดตรายสัปดาห์

      คุณได้สมัครรับข้อมูลการตั้งครรภ์แล้ว

      ต้องการสมัครสมาชิก?
      อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

      บทความที่เกี่ยวข้อง

      ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

      บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง