เป็นตะคริวระหว่างตั้งครรภ์
ตะคริวระหว่างตั้งครรภ์
อาการของตะคริวจะเกิดการเกร็งอย่างฉับพลันที่ข้อเท้าและลามขึ้นมาที่ขาพร้อมกับความรู้สึกเจ็บ เนื่องจากการหดเกร็งอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อจนเป็นก้อนแข็ง
ส่วนใหญ่คุณแม่ตั้งครรภ์จะเกิดอาการตะคริวเมื่ออายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป และเป็นมากในช่วง 2 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด และจะเกิดตะคริวช่วงน่อง และปลายเท้าได้มากที่สุด
การเป็นตะคริวมีสาเหตุจาก
- มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เพราะทารกต้องนำไปใช้สร้างกระดูกและฟัน
- การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก จากน้ำหนักของมดลูกไปกดทับทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มีการคั่งของเลือด กล้ามเนื้อบริเวณน่องก็เลยขาดออกซิเจน ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งขึ้นมาค่ะ
แก้อาการและป้องกันตะคริว
- ยืดกล้ามเนื้อส่วนที่ปวดให้ตึง เช่น ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง ใช้ผ้ายาวๆ คล้องไว้ที่ปลายเท้า แล้วดึงผ้าเข้าหาตัวให้ตึง เพื่อให้ปลายเท้ากระดกเข้าหาตัว หรือให้คุณพ่อช่วยจับปลายเท้าให้กระดกขึ้น ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขา เหยียดหัวเข่าให้ตรง ยกเท้าขึ้นจากพื้นเล็กน้อย และกระดกปลายเท้าลงด้านล่าง
- ให้กินอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอทุกวัน นม ปลาตัวเล็กๆ ที่รับประทานได้ทั้งตัว ผักใบเขียว งาดำ ถั่วแดงหลวง และถ้าเป็นช่วงกลางคืนบ่อยๆ ให้ดื่มนมมากขึ้นในช่วงก่อนนอน และใช้หมอนรองขาจากที่นอนให้ส่วนปลายเท้าสูงขึ้น
- ไม่ควรนวดแรงๆ บริเวณที่เป็น อาจจะทําให้เจ็บมากขึ้นได้
ถ้าเป็นตะคริวมากเกือบทุกคืน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ดีที่สุดค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง