ตั้งครรภ์
      Pregnancy C-section -preparation01-01
      Pregnancy C-section -preparation01-01

      เตรียมตัวก่อนและหลังผ่าคลอด

      Pregnancy C-section -preparation01-02

      แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนและหลังผ่าคลอด

      ถ้าแม่ทราบกำหนดวันผ่าคลอดแล้ว แพทย์จะพูดคุยในเรื่องสุขภาพ เพื่อป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าคลอด ได้แก่ การใช้ยาสลบ หรือยาระงับอาการเจ็บปวด เช่นการบล็อกหลัง จากนั้นคือการตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮีโมโกลบิน และกรุ๊ปเลือดของคุณแม่ เพื่อการเตรียมเลือดสำรองไว้ระหว่างการผ่าตัดคลอด และอย่าลืมว่า การผ่าคลอดจะฟื้นตัวช้ากว่าการคลอดธรรมชาติ อาจต้องวางแผนหาคนคอยช่วยดูแลเด็กทารกในระหว่างที่คุณแม่ต้องพักฟื้น จนกว่าแม่จะหายเป็นปกติ การดูแลลูกน้อยด้วยตนเองเพียงคนเดียวอาจทำให้แม่พักผ่อนไม่พอ อ่อนเพลีย เกิดความเครียดได้ และเมื่อถึงวันผ่าคลอด ให้คุณแม่อาบน้ำสระผมให้สะอาด และหากจำเป็นต้องโกนขนอวัยวะเพศ ทางบุคลากรทางการแพทย์จะมีการตระเตรียมก่อนผ่าตัดเอง

      วิธีดูแลรักษาตัวหลังผ่าคลอด

      เมื่อการผ่าคลอดเสร็จสิ้นไปแล้ว ปกติแม่และเด็กจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลต่ออย่างน้อยอีก 2 ถึง 3 วัน เพื่อติดตามอาการหลังจากการผ่าตัดคลอด แม่หลายคนต้องใช้ยาแก้ปวดให้ผ่านทางสายน้ำเกลือ นอกจากนั้นต้องมีพยาบาลคอยดูแลเรื่องการขยับร่างกาย เพราะการเคลื่อนไหวสามารถช่วยให้แผลผ่าตัดสมานตัวได้เร็ว และยังจะลดอาการท้องผูกและการเกิดลิ่มเลือด นอกจากนั้น ทีมแพทย์ยังสามารถเฝ้าระวังการติดเชื้อของแผลผ่าคลอด รวมทั้งการดูแลสุขภาพและอาหารการกินโดยรวมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต้องดูแลสำหรับแม่ผ่าคลอดเป็นพิเศษ นอกจากนั้น หลังผ่าคลอด แม่สามารถให้นมลูกได้เมื่อพร้อม และก่อนออกจากโรงพยาบาล พ่อแม่ควรปรึกษาสอบถามทีมแพทย์เรื่องการดูแลแม่และเด็ก ทั้งเรื่องอาหารการกิน และวัคซีน เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในแม่และเด็กต่อไป

      Pregnancy C-section preparation01-03
      Pregnancy C-section -preparation01-04

      3 วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด

      1. แม่และคนดูแล ควรสังเกตบ่อยๆ ว่าแม่มีไข้หรือไม่ เพราะอาจมีการอักเสบจากแผล
      2. แม่และคนดูแล ควรคอยสังเกตว่าแผลจากการผ่าคลอด บวมแดงหรือไม่อย่างไร เพราะปกติแล้วแผลผ่าคลอดควรจะดีขึ้นเรื่อยๆ
      3. เวลาแม่ลุกหรือนั่งจากเตียงให้ตะแคงตัวเท่านั้น และเมื่อต้องการลุก ให้ค่อยๆ ใช้มือยันตัวขึ้นในท่าตะแคง รวมทั้งเวลานอนลงก็ควรใช้ท่าเดิมนี้ เพื่อลดอาการเจ็บแผลหรือการทำให้แผลผ่าคลอดเปิดได้
      Pregnancy C-section preparation01-05

      รู้ทันการเปลี่ยนแปลงของแม่หลังคลอด

      ซึมเศร้าหลังคลอด

      เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังคลอด ทำให้คุณแม่มีอาการซึมเศร้า เสียใจ หดหู่โดยไม่มีสาเหตุ สิ่งที่ควรทำคือพยายามทำความเข้าใจอาการที่เกิดขึ้น และทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียดหรือหงุดหงิดกับการเลี้ยงดูลูกน้อย และบอกคนใกล้ชิดในบ้านให้เข้าใจหรือให้คุณพ่อได้รับรู้ ช่วยเป็นกำลังใจ เพราะครอบครัวคือกำลังใจสำคัญที่จะทำให้คุณแม่หายจากอาการซึมเศร้าได้มากที่สุด แต่ถ้าอาการเป็นมาก แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอีกครั้ง

      Pregnancy C-section preparation01-06

      ผมร่วง

      เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงหลังคลอดเช่นกันที่ทำให้ผมคุณแม่ร่วงทุกวัน หรือร่วงมากขึ้นหลังคลอดในช่วง 3-4 เดือนแรก แต่อาการนี้จะดีขึ้นเมื่อฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่กลับมาอยู่ในระดับเดิม ซึ่งผมจะร่วงน้อยลง หนาและเงางามขึ้นภายใน 6-12 เดือน

      Pregnancy C-section preparation01-06

      หน้าท้องหย่อน

      หลังคลอด หน้าท้องคุณแม่อาจจะยังดูใหญ่คล้ายคนท้องอยู่บ้าง เนื่องจากผิวหนัง และมดลูกมีการขยายออกตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา แต่มดลูกของคุณแม่จะหดตัวกลับไปเท่าเดิมได้ในประมาณ 6-8 สัปดาห์ และการให้ลูกดูดนมจะทำให้มดลูกหดตัวเร็วขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายหลังคลอด จะช่วยให้ผิวหนังที่ยืดขยายของคุณแม่กลับมาหดตัวดังเดิมได้เร็วขึ้น

      Pregnancy C-section preparation01-06

      ช่องคลอดขยายตัว

      หากคุณแม่คลอดธรรมชาติ ช่องคลอดจะมีการขยายตัว บวมหรือช้ำ แต่หลังจากนั้นอาการบวมจะค่อยๆ ลดลง และช่องคลอดจะหดกลับมาได้ในอีก 2-3 สัปดาห์ และหากคุณแม่มีการออกกำลังกาย และบริหารอุ้งเชิงกรานก็จะช่วยให้ช่องคลอดกลับมากระชับได้เหมือนเดิมได้เร็วขึ้น

      Pregnancy C-section preparation01-06

      ปัญหาผิวหนัง

      ปัญหาผิวหนังที่เกิดตอนตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น ฝ้า กระ สิว ผิวหมองคล้ำ จะค่อยๆ หมดไปหลังคลอด เพราะฮอร์โมนที่เคยเปลี่ยนไปจะกลับมาอยู่ในระดับปกติ คุณแม่จึงกลับมามีผิวที่ดีได้เหมือนก่อนตั้งครรภ์

      Pregnancy C-section preparation01-07

      แม่ผ่าคลอดต้องรู้ เพื่อลูกแกร่งแต่เกิด

      *เป็นการรวบรวมข้อมูลจาก National registry (Cohort study) ประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี 1977-2012 จำนวนเด็ก 1.9 ล้านคน ทำการศึกษาในช่วงแรกเกิดถึง 15 ปี Sevelsted A et al., Pediatrics. 2015;135(1):e92-8.

      ลูกน้อยที่คลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพหรือจุลินทรีย์โพรไบโอติก ผ่านทางช่องคลอดของคุณแม่ ต่างจากเด็กที่ผ่าคลอดที่ไม่ได้รับจุลินทรีย์โพรไบโอติก อาจทำให้ระบบภูมิต้านทานพัฒนาล่าช้า

      Pregnancy C-section preparation01-08

      ดังนั้นการผ่าคลอดจึงอาจส่งผลต่อการพัฒนาภูมิต้านทานของลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด

      คำนวณอายุครรภ์

      กรุณาระบุวันครบกำหนดคลอด

      กรุณาระบุไม่เกิน 40 สัปดาห์
      ไม่ทราบวันครบกำหนดคลอด

      คำนวณวันครบกำหนดคลอด

      กรุณาระบุวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

      คุณระบุไม่ถูกต้อง

      รอบประจำเดือนของคุณอยู่ในช่วงกี่วัน

      คำนวณวันครบกำหนดคลอด

      วันครบกำหนดคลอดคือ

      8 april 2018

      อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

      อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

      อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

      ต้องการข้อมูลอัพเดตรายสัปดาห์

      คุณได้สมัครรับข้อมูลการตั้งครรภ์แล้ว

      ต้องการสมัครสมาชิก?
      อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

      โปรแกรมตั้งชื่อมงคลให้ลูกรัก

      บทความที่เกี่ยวข้อง

      ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

      บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง