ตั้งครรภ์
      Print
      Print

      ขั้นตอนผ่าคลอด

      ขั้นตอนผ่าคลอด..เป็นอย่างไร

      คุณแม่ที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือข้อบ่งชี้ต่างๆ ขณะตั้งครรภ์ เช่น รกเกาะต่ำ ลูกอยู่ท่าก้น ปากมดลูกไม่เปิด หรืออื่นๆ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีผ่าคลอดทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันการให้กำเนิดลูกน้อยแบบนี้ มีความปลอดภัยทั้งต่อคุณแม่และลูกสูง สามารถทำได้โดยไม่ต้องกังวลใดๆ

      Step1

      เตรียมพร้อม

      การผ่าตัด คลอดลูก นั้นสูติแพทย์มักจะกาหนดวันไว้ล่วงหน้า เพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมตัว โดยก่อนที่คุณแม่จะผ่าคลอดจะมีขั้นตอนการเตรียมพร้อมดังนี้

      1. งดน้างดอาหาร 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสาลักอาหารเข้าปอดในระหว่างผ่าตัด โดยเฉพาะหากต้องดมยาสลบ และขณะที่คุณแม่ใส่ท่อช่วยหายใจ
      2. ทาความสะอาดและฆ่าเชื้อผิวหนังหน้าท้อง โกนขนบริเวณที่ใกล้กับจุดที่ผ่าตัด และใส่สายสวนปัสสาวะ
      Step2

      ระงับความรู้สึกและผ่าตัด

      1. ให้ยาระงับความรู้สึก (ยาชาหรือยาสลบ) เพื่อให้คุณแม่ไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะผ่าตัดคลอด และให้ยาแก้ปวดเพื่อลดความเจ็บปวดหลังจากหมดฤทธิ์ยาชาหรือยาสลบ โดยคุณแม่จะถูกเจาะเส้นเลือดเพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และสำหรับให้ยาต่างๆ การดมยาสลบ หรือการฉีดยาชาเฉพาะที่ หรือบล็อกหลัง เพื่อให้คุณแม่มีอาการชาไม่รู้สึกเจ็บตั้งแต่ช่วงเอวลงไปถึงขาทั้งสองข้างในขณะผ่าตัดนั้นจะพิจารณาตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี
      2. หลังจากคุณแม่ถูกระงับความรู้สึกแล้ว แพทย์จะใช้มีดผ่าตัดที่ผนังหน้าท้อง โดยผ่าลงไปในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ชั้นกล้ามเนื้อ ชั้นเยื่อบุช่องท้อง แล้วผ่าเปิดมดลูก จากนั้นจึงนำลูกน้อย และรกที่อยู่ในมดลูกออก
      Step3

      เย็บปิดแผล

      หลังจากลูกน้อยคลอดแล้ว แพทย์จะเย็บปิดแผลที่ผ่าตัดในแต่ละชั้น โดยเย็บซ่อมแซมแผลที่มดลูก จากนั้นจึงเย็บปิดชั้นเยื่อบุช่องท้อง ชั้นไขมัน และเย็บปิดแผลที่ชั้นผิวหนังหน้าท้อง ตามลำดับ

      Expertist cartoon

      การดมยา กับการบล็อกหลัง แตกต่างกันอย่างไร

      Doctor cartoon

      การดมยาสลบ และการบล็อกหลัง คือวิธีการระงับความเจ็บปวด และระงับความรู้สึกขณะผ่าคลอด เพื่อไม่ให้คุณแม่รู้สึกตัวขณะผ่าตัด หรือไม่มีความรู้สึกเจ็บบริเวณเฉพาะที่ผ่า โดยทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกัน คือ

      การดมยาสลบ

      เป็นการระงับความรู้สึกที่จะทำให้คุณแม่หมดสติหรือไม่รู้สึกตัวเลย วิธีการจะทำโดยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการให้คุณแม่ดมยาสลบผ่านหน้ากาก หรือได้รับยาสลบผ่านหลอดเลือดดำ และใส่ท่อช่วยหายใจ หลังจากนั้นคุณแม่จะหมดสติ ไม่รู้สึกเจ็บ และไม่รู้สึกตัวตลอดการผ่าตัด จนฤทธิ์ยาสลบหมด

      การบล็อกหลัง

      เป็นการฉีดยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ เพื่อทำให้คุณแม่รู้สึกชาเฉพาะบริเวณกลางลำตัวไปจนถึงขาในขณะผ่าตัดคลอด แต่ช่วงบนลำตัวจะยังมีความรู้สึก คุณแม่จึงสามารถรับรู้และสื่อสารขณะแพทย์ผ่าตัดคลอดได้ วิธีการ คือ วิสัญญีแพทย์จะแทงเข็มให้ยาเข้าไปในช่องไขสันหลังของคุณแม่ จากนั้นคุณแม่จะรู้สึกชาตั้งแต่ช่วงลำตัวไปจนถึงขา และไม่มีความรู้สึกในขณะที่แพทย์กำลังผ่าตัดคลอด

      ก่อนที่คุณแม่จะต้องผ่าตัดคลอด จึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเลือกระงับความเจ็บปวดขณะผ่าตัดว่าสุขภาพและร่างกายคุณแม่เหมาะสมกับการระงับความรู้สึกแบบใดที่สุด

      แผลผ่าตัดแนวไหน

      โดยส่วนใหญ่การผ่าตัดคลอดจะมีวิธีการ 2 แนวทาง คือ

      แบบการผ่าตัดแนวยาวตรง หรือแนวตั้งกลางตัวคุณแม่ (Vertical Midline Incision)

      ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่นิยมนัก ยกเว้นกรณีคุณแม่มีภาวะฉุกเฉินหรือมีข้อบ่งชี้ต่างๆ เช่น ลูกน้อยในครรภ์กำลังขาดออกซิเจน ภาวะรกเกาะต่ำมีเลือดออกมาก วิธีการ คือ แพทย์จะลงมีดบริเวณใต้สะดือลงมาถึงบริเวณเหนือหัวหน่าวในทางตรงจากบนลงล่าง แล้วนำลูกน้อยในครรภ์ออกมา

      การผ่าตัดแนวขวางหรือแนวบิกินี่ (Transverse Incision)

      ปัจจุบันเป็นแนวทางการผ่าตัดคลอดที่นิยมมากกว่าแนวตรง โดยแพทย์จะมีการลงมีดแนวขวาง และโค้งเล็กน้อยบนลำตัวคุณแม่บริเวณเหนือหัวหน่าวหรือที่เรียกว่า เส้นบิกินี่ และความยาวของแผลผ่าตัดส่วนใหญ่จะประมาณ 12-15 ซม.

      C section how to

      นวัตกรรมการเย็บแผล ปิดแผลผ่าตัด

      หลังจากลูกน้อยลืมตาออกมาดูโลกแล้ว ได้เวลาที่สูติแพทย์ผู้ผ่าตัดคลอดจะทำการเย็บแผลหรือปิดแผลให้คุณแม่ ในชั้นกล้ามเนื้อและผิวหนังต่างๆ และขั้นตอนสุดท้าย คือ การเย็บหรือปิดแผลที่ชั้นผิวหนังหน้าท้อง โดยทำได้หลายวิธี คือ

      การใช้ไหมเย็บ

      โดยสูติแพทย์จะใช้ไหมเย็บแผลทางการแพทย์เย็บแผลผ่าตัดหน้าท้องคุณแม่ ซึ่งมีทั้งการใช้ไหมแบบละลาย หรือแบบที่ต้องตัดไหม แต่ในข่วง 6-7 วันแรก คุณแม่ต้องระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ และเมื่อเปิดผ้าปิดแผลออก แผลแห้งดีแล้วก็ไม่ควรเกาหรือดึงสะเก็ดแผล แต่ควรปล่อยให้สะเก็ดที่แผลหลุดลอกออกเอง

      การใช้แม็กซ์เย็บแผล

      คือการใช้ลวดเย็บที่แผลผ่าตัดด้านนอกเพื่อให้ผิวหนังยึดติดกัน ป้องกันแผลแยกหรือแตกออก และป้องกันไม่ให้แผลโดนน้ำ โดยแพทย์จะดึงแม็กซ์เย็บแผลออกให้ใน ช่วงเวลาที่เหมาะสม

      การใช้กาวปิดแผลทางการแพทย์

      เป็นกาวปิดแผลที่ใช้ทางการแพทย์ มีประโยชน์เพื่อสมาน และยึดแผลผ่าตัดคลอดให้ติดสนิท กาวปิดแผลนี้ยังสามารถกันน้ำได้ โดยหลังผ่าตัดคุณแม่ไม่ต้องปิดพลาสเตอร์ปิดแผลภายนอกอีกด้วย

      อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเรื่องการเย็บแผลผ่าตัดเพื่อให้ เหมาะสมกับความต้องการสุขภาพของคุณแม่ และข้อบ่งชี้ต่างๆ เนื่องจากบางกรณี แพทย์อาจตัดสินใจได้ตามความเหมาะสม และแต่ละวิธีจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน

      Mom baby cartoon

      แม้ผ่าคลอด...ก็เตรียมความพร้อมให้ลูกรักก้าวไปได้ไกลกว่า

      เพราะการทำงานร่วมกันแบบซินไบโอติก (Synbiotic) ของ จุลินทรีย์สุขภาพโพรไบโอติก และ ใยอาหารพรีไบโอติก ในน้ำนมแม่ มีส่วนสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานให้ลูกน้อยผ่าคลอดได้ คุณแม่จึงควรให้ทารกทานนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากนั้นให้อาหารตามวัยที่ปลอดภัยและเหมาะสม ควบคู่กับให้นมแม่ต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่า เพื่อพัฒนาระดับภูมิต้านทานให้ลูกน้อยผ่าคลอดได้เทียบเท่ากับเด็กที่คลอดธรรมชาติ หากคุณแม่มีความจำเป็นไม่สามารถให้นมลูกได้ ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรับคำแนะนำด้านโภชนาการอย่างเหมาะสม

      คำนวณอายุครรภ์

      กรุณาระบุวันครบกำหนดคลอด

      กรุณาระบุไม่เกิน 40 สัปดาห์
      ไม่ทราบวันครบกำหนดคลอด

      คำนวณวันครบกำหนดคลอด

      กรุณาระบุวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

      คุณระบุไม่ถูกต้อง

      รอบประจำเดือนของคุณอยู่ในช่วงกี่วัน

      คำนวณวันครบกำหนดคลอด

      วันครบกำหนดคลอดคือ

      8 april 2018

      อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

      อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

      อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

      ต้องการข้อมูลอัพเดตรายสัปดาห์

      คุณได้สมัครรับข้อมูลการตั้งครรภ์แล้ว

      ต้องการสมัครสมาชิก?
      อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

      บทความที่เกี่ยวข้อง

      ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

      บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง