นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์

คุณแม่ท้องต้องน้ำหนักเพิ่มเท่าไรจึงพอดี

คุณแม่คงเคยได้ยินคำที่ว่า คุณแม่ท้องต้องมีน้ำหนักตัวเพิ่ม “ตามเกณฑ์” ใช้ไหมคะ ทราบหรือไม่คะว่า ทำไมการที่คุณแม่มีน้ำหนักเพิ่มตามเกณฑ์จึงมีความสำคัญ

การเพิ่มน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ ทำให้คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงต่อไปนี้ได้ค่ะ

  1. น้ำหนักตัวเพิ่มน้อยเกินไป จะมีความเสี่ยงที่ลูกน้อยอาจมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ คือน้อยกว่า 2.5 กก.ค่ะ
  2. น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป อาจทำให้คุณแม่ท้องปวดหลัง และเส้นเลือดขอด และอาจเป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น  โรคเบาหวานเนื่องจากการตั้งครรภ์(Gestational Diabetes – GDM)  และความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์(Pregnancy-induced Hypertension – PIH) นะคะ
  3. มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่อาจคลอดลูกตัวใหญ่ ซึ่งอาจกลายเป็นคนอ้วนในอนาคต นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดได้อีกด้วยค่ะ

แล้วการเพิ่มน้ำหนักตามเกณฑ์นั้นเป็นอย่างไร มาดูคำตอบด้านล่างนี้นะคะ เริ่มจากอัตราการเพิ่มของน้ำหนักตัวระหว่างการตั้งครรภ์ ควรเป็นดังนี้ค่ะ น้ำหนักตัวสามารถเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาส 2 และ 3 (ช่วง 6-9 เดือน) โดยขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 กก. หรือ 0.7 กก. ถ้าเป็นลูกแฝดนะคะ โดยคุณแม่ต้องวัดดัชนีมวลกาย หรือ BMI ของคุณแม่ก่อนท้องว่าอยู่ในระดับใดก่อนนะคะ

สูตรคำนวณน้ำหนักแม่ตั้งครรภ์

BMI* = น้ำหนัก (กิโลกรัม)   

       ความสูง (เมตร) x ความสูง (เมตร)

BMIสถานะน้ำหนักตัวคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์
< 18.5น้ำหนักตัวน้อยเกินไป
18.5 - 22.9น้ำหนักตัวเหมาะสม
23 – 29.9น้ำหนักตัวมากเกินไป
≥ 30อ้วน

จากนั้นลองมาดูตารางเปรียบเทียบน้ำหนักดูนะคะ ว่าคุณแม่ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก-น้อยเพียงใด ตามเกณฑ์ในตารางด้านล่างนี้ค่ะ (ที่มา Institute of Medicine (IOM) 2009)

BMI (กก./ตร.ม.)น้ำหนักที่ควรเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์ (กก.)น้ำหนักที่ควรเพิ่มในไตรมาสที่           2 และ 3  (กก./สัปดาห์)
น้ำหนักน้อย (< 18.5)12.5-180.51 (0.44-0.58)
น้ำหนักตัวเหมาะสม (18.5 - 22.9)11.5-160.42 (0.35-0.50)
น้ำหนักเกิน (23 – 29.9)7.0-11.50.28 (0.23-0.33)
อ้วน (≥ 30)5.0-9.00.22 (0.17-0.27)

น้ำหนักของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นนั้นไปอยู่ที่ส่วนใดในร่างกายบ้าง

ตำแหน่งน้ำหนัก (กก.)
ทารกในครรภ์3.6
รก0.9-1.4
น้ำคร่ำ0.9-1.4
เต้านม0.9-1.4
เลือดที่หล่อเลี้ยงมดลูก1.8
มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น0.9-2.3
ไขมันที่สะสมไว้สำหรับการคลอดและการให้นมลูก2.3-4.1
รวม11.3-16

เมื่อทราบเกณฑ์มาตรฐานของการเพิ่มของน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ท้องต้องเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยให้สมดุลกับความต้องการไม่มากหรือน้อยเกินไปนะคะ เพราะจะมีผลกระทบต่อการเพิ่มน้ำหนักซึ่งนั่น ก็คือการเจริญเติบโตของทารกน้อยในครรภ์นะคะ และต้องรับประทานอาหารให้มีความหลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ด้วยนะคะ

คำนวณอายุครรภ์

กรุณาระบุวันครบกำหนดคลอด

กรุณาระบุไม่เกิน 40 สัปดาห์
ไม่ทราบวันครบกำหนดคลอด

คำนวณวันครบกำหนดคลอด

กรุณาระบุวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

กรุณาระบุไม่เกิน 40 สัปดาห์

รอบประจำเดือนของคุณอยู่ในช่วงกี่วัน

อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

วันครบกำหนดคลอดคือ

Due Date Result Label

8 april 2018

Week Result Label

อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

สมัครสมาชิก

อายุครรภ์สัปดาห์อื่น
carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x