ตั้งครรภ์
      C-section care for caesarean wound (Cover after c-sectioon)

      การดูแลแผลผ่าคลอด

      C-section care for caesarean wound (Cover after c-sectioon)
       C-section care for caesarean wound (head1)

      เมื่อเห็นแผลเย็บจากการผ่าคลอด แปลว่าคุณแม่ได้ทำภารกิจอันยิ่งใหญ่สำเร็จแล้ว งานต่อไปคือการดูแลให้แผลที่เย็บไว้หายเร็วขึ้นโดยการทำความเข้าใจเรื่องของแผลผ่าคลอด และตามคำแนะนำต่อไปนี้ค่ะ

       C-section care for caesarean wound (head2)

      แม้การผ่าคลอดจะช่วยให้แม่ไม่ต้องเจ็บปวดกับการคลอดแบบธรรมชาติ แต่หลังจากการผ่าคลอดทำให้เกิดแผลที่ต้องรักษา และทำให้เกิดความไม่สะดวกสบายในการใช้ชีวิตไปอีกสักพัก ซึ่งแผลผ่าคลอดนี้เองเป็นสิ่งที่แม่ต้องดูแลตัวเองให้ดีเป็นพิเศษ เพราะแผลอาจเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือ แผลแยก ทำให้ต้องเย็บใหม่

       C-section care for caesarean wound (after c-sectioon)
       C-section care for caesarean wound (head3)

      คุณแม่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีแผลเย็บหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นแผลจาก การผ่าตัดคลอด หรือการตัดฝีเย็บหรือรอยฉีกขาดบริเวณช่องคลอด บาดแผลผ่าคลอดจะมีรูปร่างและลักษณะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น วิธีและวัสดุที่แพทย์ใช้เย็บแผล โดยทั่วไปการผ่าตัดคลอดที่ผ่านการศัลยกรรมจะทำให้เกิดรอยแผลยาว 4-6 นิ้ว ซึ่งจะเป็นแผลลักษณะแนวนอนตามแนวขอบกางเกงชั้นใน หรือแผลอีกแบบคือแนวตั้งใต้สะดือ ขึ้นอยู่กับตอนผ่าคลอด และผิวชั้นนอกของแผลผ่าคลอดนี้จะเริ่มสมานกันหลังจากสัปดาห์แรกของการผ่าได้ผ่านไป จากนั้นแผลผ่าคลอดจึงปิดจะสนิท และเปลี่ยนลักษณะเป็นสีแดงอมม่วงราว 6 เดือน ก่อนจะจางเป็นสีขาวเรียบไปเรื่อยๆ จนหายดี

       C-section care for caesarean wound (04 head)

      โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานกัน แต่ก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน หรือ 2 – 12 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับลักษณะของการเย็บ สิ่งสำคัญคือ ควรดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี ไม่ให้ติดเชื้อ เพื่อให้แผลสมานเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา

      C-section care for caesarean wound (pic3)
       C-section care for caesarean wound (head5)
      1. อย่าทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากนัก แม่ต้องห้ามยกของหนักเด็ดขาด โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก
      2. หมั่นขมิบช่องคลอดบ่อยๆ เพื่อช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงในบริเวณนั้นมากขึ้นและกระตุ้นการสมานแผล
      3. รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้ง วิธีที่รวดเร็วก็คือ การฉีดละอองน้ำเพื่อล้างทำความสะอาด ทำวันละ 2-3 ครั้งและเช็ดให้แห้งอย่างเบามือ
      4. ต้องระวังอย่าให้ผ้าอนามัยไปขูดสีกับแผลที่เย็บไว้ และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ
      5. คุณแม่อาจใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณแผลได้ แต่ต้องไม่เกินครั้งละ 2-3 นาที ความเย็นจะช่วยลดอาการบวม แต่หากนานเกินไปก็จะทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณแผลน้อยลง
      6. ใช้ผ้ารัดท้องหลังคลอดเพื่อช่วยพยุงกล้ามเนื้อส่วนหลังเวลาขยับเดิน อีกทั้งยังช่วยลดความเจ็บปวดจากแผลผ่าคลอด อาการเจ็บแผลผ่าคลอดจะลดลงได้ เช่น ด้วยการใช้ผ้ายางยืดกับแผลผ่าตัดไม่ให้ดึงรั้งจากผนังหน้าท้อง และอาการปวดตึงแผลผ่าคลอดจะค่อยๆ ทุเลาหลังจาก 48 ชั่วโมงผ่านไป แต่ถ้ายังมีเจ็บ สามารถทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลช่วย
      7. แม่ต้องทานโปรตีน ซึ่งจะช่วยทำให้แผลผ่าคลอดประสานกันไวขึ้น แม้หลายคนบอกว่าห้ามกินไข่ หรือนม แต่ทางการแพทย์แล้วทานได้ค่ะ แต่ทานให้พอดี ไม่เยอะเกินไป เพราะโปรตีนช่วยให้แผลผ่าคลอดหายเร็วขึ้น หรือประสานไวขึ้น
      8. ต้องขยับตัวบ้าง แม้แผลผ่าคลอดจะยังเจ็บมาก หลังวันผ่าคลอด 1 วัน ตามที่แพทย์สั่ง หากแม่ไม่เคลื่อนไหว อาจเกิดพังผืดขึ้นเกาะยึดติดอวัยวะภายในช่องท้องเสี่ยงกับภาวะท่อนำไข่อุดตัน หรือผ่าคลอดลูกคนต่อไปทำได้ยาก
      9. อาบน้ำช่วงแรกของการผ่าคลอด ให้ใช้การเช็ดตัวแทนอยู่ที่ประมาณ 7 วัน เพราะถ้าโดนน้ำจะทำให้แผลผ่าตัดอาจติดเชื้อและเกิดอักเสบ แต่หลังตัดไหมแล้ว วันถัดมาก็สามารถอาบน้ำได้ และควรปล่อยให้แผลลอกไปเอง อย่าแกะเกา ควรดูแลแผลผ่าคลอดให้สะอาดและแห้งเสมอ เพราะจะทำให้แผลหายช้า และถ้าพบว่าแผลเกิดการอักเสบ บวมแดง ดูผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์
      10. เดินบ่อยๆ ช่วยได้ เพราะแม่ผ่าคลอดจะฟื้นตัวช้ากว่าแม่ที่คลอดธรรมชาติ นอกจากนั้นอาจเสี่ยงเรื่องเลือดอุดตันที่ขา ทำให้การเดินบ่อยๆ ช่วยได้ สังเกตได้จากวันหลังคลอดวันแรก ที่แพทย์จะให้คุณแม่ลุกเดินทันที เพื่อให้แม่ฟื้นตัวเร็วขึ้น และไม่เกิดภาวะเลือดอุดตันในภายหลัง การเดินนั้น ควรเดินตัวตรง ห้ามเดินหลังงอ เรื่องนี้สำคัญมาก การเดินหลังงออาจทำให้แม่หลังคู้ เพราะการผ่าคลอด ทำให้มดลูกสัมพันธ์กับกระดูกสันหลังด้วย
      11. หลังแผลแห้งสนิทแล้ว แผลปิดแล้ว ถ้าพบว่าเริ่มมีรอยแผลเป็น ให้ใช้ครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของวิตามิน E
      C-section care for caesarean wound (pic4)
       C-section care for caesarean wound (head6)

      หลังผ่าตัดคลอด คุณแม่จำเป็นต้องได้รับโภชนาการที่เพียงพอ เพื่อให้แผลผ่าคลอดหายเร็วและเตรียมสารอาหารสำหรับสร้างน้ำนมให้ลูก หลายๆ ท่านมีความกังวลในเรื่องของการดูแลรักษาแผลผ่าตัดคลอด ต้องกินอะไรแผลจึงหายเร็ว ไม่เป็นแผลเป็นนูน และมักมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับอาหารบางชนิดว่าอาจแสลงต่อแผลผ่าตัด เช่น ข้าวเหนียว ทำให้แผลเน่า เป็นหนอง หรือไข่ ทำให้แผลนูน ไม่เรียบ และแผลอักเสบหายช้า ซึ่งทางการแพทย์ ไม่มีข้อห้ามในการทานอาหารดังกล่าว

      หญิงหลังมีแผลผ่าคลอด ควรได้รับโภชนาการให้ครบทั้ง 5 หมู่ รับประทานไข่ไก่วันละ 1 – 2 ฟอง ไข่เป็นแหล่งของโปรตีนชั้นดีที่หาง่าย จะช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอหลังการผ่าตัด โปรตีนเหล่านี้จำเป็นต่อการสร้างเนื่อเยื่อและผิวหนังใหม่ที่ช่วยให้แผลหาย เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงโดยเร็ว ส่วนข้าวเหนียวนั้นเป็นอาหารจำพวกแป้ง ให้พลังงานและมีคุณค่าทางอาหารสูง⁴

      ความจริงเกี่ยวกับเรื่องแผลผ่าคลอดเป็นนูน อักเสบหายช้านั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้

       C-section care for caesarean wound (head7)

      12.      ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม : ในครอบครัวที่มีคนเป็นแผลเป็นนูน มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้ง่ายกว่า เชื้อชาติจีน พบเกิดแผลเป็นนูนได้สูงกว่า และคนผิวดำพบว่ามีโอกาสเป็นแผลเป็นนูนสูงกว่าคนผิวขาว⁵

      13.      ระยะเวลาการหายของแผล : ถ้าแผลที่หายช้าเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้สูงขึ้น⁵

      14.      การปฏิบัติตัว : การเกิดแผลเป็นนูน เกิดจากความไม่สมดุลกันของร่างกายที่สร้างคอลลาเจนออกมาในปริมาณมากเกินไป ในช่วง 3 เดือนแรก ซึ่งมีโอกาสสูงที่แผลจะกลายเป็นแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ การยืดเหยียดจนแผลตึงหรือรู้สึกเจ็บแผลจะทำให้ร่างกายปรับสภาพตัวเองโดยการสร้างเส้นใยคอลลาเจนหนาๆ เพื่อทำให้แผลแน่นขึ้น พอเส้นใยคอลลาเจนหนาเกินไปจึงกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาได้

       C-section care for caesarean wound (head8)

      15.      สุรา เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์ ไม่ควรรับประทาน เพราะว่าทำให้แผลหายช้าและอาจอักเสบได้

      16.      อาหารสุกๆ ดิบๆ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

      17.      อาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ในบางกลุ่ม เช่น อาหารทะเล เพราะถ้าแพ้แล้วอาจตามมาด้วยตุ่มผื่นคัน ส่งผลเสียให้กับแผลผ่าตัดด้วย

      18.      อาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาจส่งผลกับแผลผ่าตัดได้

      แผลผ่าตัดของคุณแม่หลังคลอด เป็นแผลที่สะอาดปราศจากเชื้อ ไม่ต้องเปิดทำแผลทุกวัน จะปิดแผลด้วยวัสดุแบบกันน้ำ ดังนั้นหากไม่มีการซึมของแผลผ่าตัด คุณแม่ไม่ต้องแกะวัสดุปิดแผลออก และระมัดระวัง ไม่ให้แผลเปียกน้ำ โดยเนื้อเยื่อภายนอกจะสมานกันดีภายใน 2-4 สัปดาห์ ซึ่งระยะเวลาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน เมื่อ 1-2 สัปดาห์ มาตรวจหลังคลอด แพทย์จะแกะวัสดุปิดแผลและตรวจดูแผลอีกครั้ง แต่หากมีอาการปวดแผล และแผลอักเสบบวมแดงมาก ให้รีบมาพบแพทย์ก่อนวันนัด

      อ่านเรื่องการเตรียมตัวผ่าคลอด

      ที่มาข้อมูลแผลผ่าคลอด

      19.      http://haamor.com/th/การผ่าท้องคลอดบุตร/

      20.      https://www.pobpad.com/คีลอยด์

      21.      https://www.doctor.or.th/article/detail/3206

      22.      หนังสือ 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ หน้า 232 -233 “การปฏิบัติตัวของคุณแม่หลังคลอด”

      23.      http://haamor.com/th/แผลเป็นนูน/#article102

      คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างสม่ำเสมอ เน้นอาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ ท้องผูก

      ข้อควรระวังแผลผ่าคลอด

      หากคุณแม่รู้สึกเจ็บตึงบริเวณแผลผ่าคลอดมาก หรือสงสัยว่าอาจมีการอักเสบติดเชื้อ ควรรีบไปพบสูติแพทย์ทันที

      คำนวณอายุครรภ์

      กรุณาระบุวันครบกำหนดคลอด

      กรุณาระบุไม่เกิน 40 สัปดาห์
      ไม่ทราบวันครบกำหนดคลอด

      คำนวณวันครบกำหนดคลอด

      กรุณาระบุวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

      คุณระบุไม่ถูกต้อง

      รอบประจำเดือนของคุณอยู่ในช่วงกี่วัน

      คำนวณวันครบกำหนดคลอด

      วันครบกำหนดคลอดคือ

      8 april 2018

      อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

      อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

      อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

      ต้องการข้อมูลอัพเดตรายสัปดาห์

      คุณได้สมัครรับข้อมูลการตั้งครรภ์แล้ว

      ต้องการสมัครสมาชิก?
      อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

      บทความที่เกี่ยวข้อง

      ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

      บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง