เด็กเล็ก
      Teething banner

      เมื่อลูกฟันขึ้นครั้งแรก

      Teething banner

      ลูกน้อยฟันขึ้น

      ฟันขึ้นเกิดขึ้นเมื่อฟันของลูกน้อยเริ่มโผล่ให้เห็นพ้นเหงือกหรือบางคนเรียกว่า "ฟันงอก ( Cutting teeth)"

      ลูกน้อยเริ่มมีฟันขึ้นเมื่อใด

      โดยทั่วไปทารกเริ่มมีฟันขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนและจะต่อเนื่องไปจนอายุ 3 ขวบ แต่ทารกบางคนอาจเริ่มมีฟันขึ้นเร็วหรือช้ากว่านั้น เช่น ฟันขึ้นตอนอายุ 3 เดือนหรือเพิ่งขึ้นเมื่ออายุ  1 ขวบ เป็นต้น 
        
      แม้ว่าพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของทารก ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่ฟันขึ้นใหม่ แต่ไม่ทราบว่าเหตุใด ที่ส่วนใหญ่มักพบว่าฟันของเด็กผู้หญิงจะขึ้นก่อนเด็กผู้ชาย 
        
      กรณีที่ลูกน้อยอายุ 12 เดือนแล้วแต่ฟันยังไม่ขึ้นสักที บางที ฟันอาจจะขึ้นช้าตามกรรมพันธุ์   แต่ทางที่ดีคุณแม่ควรปรึกษาคุณแพทย์ เพื่อทราบสาเหตุที่แน่นอน

      อาการคันเหงือก

      เมื่อฟันขึ้น มักทำให้ทารกรู้สึกเจ็บ หงุดหงิดและอารมณ์ไม่ดี เพราะขณะที่ฟันของลูกน้อยเริ่มขึ้น ขอบฟันก็จะดันเหงือกขึ้นมา ซึ่งฟันซี่แรก มักเป็นซี่ที่ทำให้ทารกรู้สึกเจ็บที่สุด เพราะเป็นความรู้สึกใหม่ที่เกิดขึ้นกับเขาและจะเจ็บที่สุดอีกครั้งตอนฟันกรามขึ้น เพราะมีขนาดใหญ่

      สัญญาณที่บอกว่าลูกน้อยมีฟันขึ้น

      • ลูกมีอาการขี้หงุดหงิด งอแงมากขึ้น และร้องมากขึ้นในเวลากลางคืน
      • ลูกน้ำลายไหลมาก
      • ลูกมีความรู้สึกอยากกัดทุกอย่างที่เห็น เพื่อพยายามลดอาการเจ็บปวด โดยเขาจะเริ่มกัดนิ้วของตัวเองหรืออะไรก็ตามที่เขาสามารถหยิบจับได้
      • แก้มของลูกจะเป็นสีแดง
      • ลูกมีอาการตัวรุมๆ ร้อนๆ (แต่ไม่สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่ามีไข้)
      • เหงือกของลูกจะบวมแดง
      • ลูกอยากดูดนมแม่หรือนมขวดมากขึ้น
      • ลูกอาจจะปฏิเสธการดูดนมแม่หรือนมขวดเพราะรู้สึกเจ็บเหงือก
      • ลูกเริ่มเบื่ออาหาร
      • ลูกจะนอนหลับไม่สนิท

       

      บทความที่เกี่ยวข้อง

      Constipation banner my baby constipation

      ลูกท้องผูก กับ 6 วิธีดูแลลูกน้อยมีอาการท้องผูก ลูกถ่ายยาก ถ่ายแข็ง

      เด็กมีอาการท้องผูกพบบ่อยเมื่ออายุประมาณ 1ปี ส่วนใหญ่เกิดจาก พฤติกรรมการรับประทานอาหารและนิสัยในการขับถ่าย เด็กไม่รับประทานผักและผลไม้หรือรับประทานทานได้น้อย ได้อาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มนมมาก ดื่มน้ำน้อย ทำให้อุจจาระแข็ง ถ่ายแล้วเจ็บ เมื่อเจ็บก็ทำให้เด็กกลัวการขับถ่าย จึงกลั้นอุจจาระ ซึ่งถ้ากลั้นอุจจาระจนเป็นนิสัย อุจจาระอยู่ในลำไส้ใหญ่นานๆ น้ำในอุจจาระจะถูกดูดซึมเข้าร่างกายทำให้อุจาระแข็งขึ้น ก้อนใหญ่ขึ้น เบ่งออกยาก จึงเกิดอาการท้องผูกตามมาในที่สุด

      ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

      บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง