นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

อาการคนท้อง

อาการคนท้อง

วิธีสังเกตสัญญาณอาการตั้งครรภ์ (อาการคนท้อง)

หากคุณสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ลองสังเกตอาการต่างๆ ที่พบได้บ่อยในคนท้องจากตารางด้านล่าง เพราะการขาดประจำเดือนอย่างเดียวไม่ได้แปลว่าคุณจะกำลังตั้งครรภ์เสมอไป บางครั้ง อาจเป็นเพราะเหนื่อยล้าหรือมาจากสาเหตุอื่นๆได้ และนอกจากสังเกตอาการแล้ว แนะนำให้มีการตรวจครรภ์ให้แน่ใจ ทั้งที่บ้าน และที่โรงพยาบาล ซึ่งอ่านคำแนะนำได้จากด้านล่างค่ะ

ตารางอาการคนท้อง กับระยะเวลาการเกิดอาการ

 อาการตั้งครรภ์

ระยะเวลาที่เกิดอาการ

สาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์

 

1. การขาดประจำเดือน

 

ทันทีที่เริ่มตั้งครรภ์

 

การเดินทาง, ย้ายที่อยู่ ,ความเครียด ร่างกายเหนื่อยล้า . ใช้ยาคุมกำเนิด, ระยะให้นมบุตร,การเพิ่มหรือการลดน้ำหนักมากๆ,โรคอ้วน,โรคของระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวาน

 

2. คลื่นไส้ อาเจียน( ไม่จำเป็นต้องมีอาการในเวลาตื่นนอนตอนเช้า

 

2-8 สัปดาห์ ภายหลังการปฏิสนธิ

 

อาหารเป็นพิษ ,ความเครียด ,โรคติดต่อ หรือการเจ็บป่วยอื่นๆ

 

3. ปัสสาวะบ่อย

 

ประมาณ 6-8 สัปดาห์ หลังการปฏิสนธิ

 

การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ,ความวิตกกังวล,โรคเบาหวาน, ใช้ยาขับปัสสาวะ

 

4. เต้านมขยายและมีอาการตึงคัด

 

พบเป็นอาการแรกก่อนอาการแสดงอื่น ๆประมาณ 2-3 วันหลังการปฏิสนธิ

 

ใช้ยาคุมกำเนิด,อาการเตือนก่อนการมีประจำเดือน

 

5. การเปลี่ยนแปลงสีผิวของช่องคลอดและปากมดลูก

 

3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

 

อาการเตือนก่อนการมีประจำเดือน

 

6. การเปลี่ยนสีผิวของลานนมและการเพิ่มขนาดของเต้านม

 

3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

 

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนผลสืบเนื่องจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อน

 

7. รอยแตกสีชมพู หรือสีคล้ำของผิวหนังหน้าท้องและบริเวณเต้านม

 

3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

 

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนผลสืบเนื่องจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อน

 

8. เบื่ออาหาร

 

3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

 

การขาดอาหาร,ความเครียด,อาการเตือนก่อนการมีประจำเดือน

 

9. เส้นสีดำกลางลำตัวที่ผิวหนังหน้าท้องจากระดับสะดือถึงหัวเหน่า

 

เดือนที่4 หรือ 5 ของการตั้งครรภ์

 

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนผลสืบเนื่องจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อน

แนะนำเพิ่มเติม อาการของคนท้องระยะแรก

การสังเกตอาการของคนท้องในช่วงแรกๆ หรือคนท้องระยะแรก 1-2 สัปดาห์ เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราทราบได้คร่าวๆ ก่อนไปตรวจด้วยที่ตรวจเอง หรือไปที่โรงพยาบาลให้แน่ชัด อย่างไรก็ตาม อาการตั้งครรภ์ทั่วไปทั้ง 10 ที่คุณสามารถสังเกตได้เอง มีดังนี้ค่ะ

1. ประจำเดือนไม่มา

นี่เป็นสัญญาณแรกที่หลายคนสังเกตได้ หากประจำเดือนขาดหายไปโดยไม่มีสาเหตุอื่น อาจเป็นอาการของคนท้องก็เป็นได้

2. อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

ที่มักเรียกว่า "อาการแพ้ท้อง" มักเกิดขึ้นในช่วงเช้าแต่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน โดยมักเริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์

3. อ่อนเพลียง่าย และง่วงนอนบ่อยขึ้น

ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าและต้องการพักผ่อนมากขึ้น

4. หน้าอกคัดตึงและเจ็บ

เต้านมอาจรู้สึกบวม เจ็บ หรือคัน เนื่องจากการเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมบุตร

5. ปัสสาวะบ่อย

เนื่องจากมดลูกที่ขยายขนาดกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น

6. อารมณ์แปรปรวนง่าย

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้รู้สึกอ่อนไหวง่ายขึ้น

7. รู้สึกมีอาการวิงเวียน และเป็นลม

การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนโลหิตอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้

8. ความอยากอาหารไม่เหมือนเดิม

อาจมีความอยากอาหารบางชนิดมากขึ้นหรือรู้สึกไม่ชอบอาหารที่เคยชอบ

9. ผิวหนังเปลี่ยนไป

อาจมีจุดด่างดำบนใบหน้าหรือรอบหัวนม หรือเกิดสิวขึ้นได้

10. ท้องผูก

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก

อย่าลืมว่า อาการคนท้องเหล่านี้อาจเกิดบ้าง ไม่เกิดบ้าง ไม่ทั้งหมด หรือมีอาการมากน้อยต่างกันไป แต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น บางคนอาจจะไม่แพ้ท้องเลย หรือบางคนอาจจะแพ้ท้องไปตลอดจนถึงตอนคลอดก็มี

และการมีอาการของคนท้องเหล่านี้ แม้จะมีหลายอาการรวมๆ กัน ก็อาจไม่ได้หมายความว่าคุณกำลังตั้งครรภ์จริงเสมอไป และในทางกลับกัน การไม่มีอาการเหล่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ได้ตั้งครรภ์ (ให้ดูจากตาราง อาการคนท้อง ด้านบนค่ะ)

ดังนั้น วิธีที่แม่นยำที่สุดในการยืนยันการตั้งครรภ์คือการใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ และต่อมาคือการพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง

การตรวจครรภ์ด้วยตัวเองที่บ้าน

การทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์หรือไม่นั้น สามารถทำได้หลายวิธี ถ้าสังเกตอาการแล้วน่าจะใช่ ไม่ว่าจะแน่ใจหรือไม่ก็ตาม ก็ควรตรวจด้วยตัวเองที่บ้าน จากนั้นคอนเฟิร์มให้ชัวร์ด้วยการตรวจที่โรงพยาบาลถึงจะแน่ใจได้ค่ะ

การเลือกชุดตรวจครรภ์

การสงสัยถึงอาการคนท้อง ก็เป็นขั้นตอนเบื้องต้นแรก จากนั้น ถ้าจะให้รู้แน่ชัดไปอีกขั้น (จะให้รู้ชัวร์ๆ สุดท้ายยังไงก็ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาล) คุณต้องใช้ชุดตรวจครรภ์ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แนะนำให้พยายามเลือกยี่ห้อที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน

ขั้นตอนการใช้ที่ตรวจครรภ์

  1. อ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์อย่างละเอียด
  2. เก็บปัสสาวะในภาชนะที่สะอาด
  3. จุ่มแถบทดสอบลงในปัสสาวะตามเวลาที่กำหนด (ปกติจะอยู่ในช่วง 5-10 วินาที)
  4. รอผลการทดสอบตามเวลาที่ระบุ (ปกติจะอยู่ในช่วง 1-3 นาที)
  5. อ่านผลการทดสอบ โดยแถบสีที่ปรากฏจะบ่งบอกถึงผลการตั้งครรภ์

การอ่านผลการทดสอบ

  1. หากมีแถบสีขึ้นสองแถบ แสดงว่าคุณอาจตั้งครรภ์
  2. หากมีแถบสีขึ้นเพียงแถบเดียว แสดงว่าคุณอาจไม่ตั้งครรภ์

 

การตรวจครรภ์ให้แน่ใจที่โรงพยาบาล

ตรวจเลือด

แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อตรวจหาฮอร์โมน hCG ในเลือด ซึ่งมีความแม่นยำสูงและสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้เร็วกว่า

ตรวจอัลตราซาวนด์

แพทย์จะใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ตรวจดูภาพภายในมดลูก ซึ่งสามารถยืนยันการตั้งครรภ์และประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ได้

ตรวจร่างกายเพิ่มเติม

นอกจากการตรวจครรภ์ แพทย์ยังสามารถตรวจสุขภาพร่างกายเพิ่มเติมเพื่อประเมินสุขภาพทั่วไปของผู้ตั้งครรภ์

หากคุณสงสัยว่าตัวเองมีอาการตั้งครรภ์ หรืออาการคนท้องที่กล่าวมา แม้จะตรงบางข้อ ก็ควรตรวจครรภ์ให้แน่ใจ และปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมและเริ่มการดูแลครรภ์อย่างถูกต้อง เพราะอย่าลืมว่า การดูแลสุขภาพแม่ตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์ สำคัญที่สุดต่อสุขภาพทารกในครรภ์

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2021). การฝากครรภ์. สืบค้นจาก https://anamai.moph.go.th/th/faq/3829

2. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2023). การตรวจการตั้งครรภ์. สืบค้นจาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2021/pregnancy-test

คำนวณอายุครรภ์

กรุณาระบุวันครบกำหนดคลอด

กรุณาระบุไม่เกิน 40 สัปดาห์
ไม่ทราบวันครบกำหนดคลอด

คำนวณวันครบกำหนดคลอด

กรุณาระบุวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

กรุณาระบุไม่เกิน 40 สัปดาห์

รอบประจำเดือนของคุณอยู่ในช่วงกี่วัน

อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

วันครบกำหนดคลอดคือ

Due Date Result Label

8 april 2018

Week Result Label

อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

อายุครรภ์ของคุณแม่คือ

สมัครสมาชิก

อายุครรภ์สัปดาห์อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x