นมแม่ คือโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน หลังจากนั้นจึงให้อาหารตามวัยร่วมกับนมแม่
สำหรับประเทศไทย แนะนำให้นมแม่อย่างเดียวและเริ่มอาหารตามวัยเมื่อทารกอายุประมาณ 6 เดือน และให้นมแม่ต่อเนื่องถึงอายุ 2 ปี แต่ในกรณีที่การเจริญเติบโตของทารกมีแนวโน้มลดลงหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างเต็มที่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อคำแนะนำด้านโภชนาการที่ถูกต้อง
นมแม่มีสารอาหารและประโยชน์มากมาย เพราะฉะนั้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้และการฝึกฝน รวมทั้งความตั้งใจและอดทน คุณแม่ควรเตรียมความพร้อมตั้งแต่ระยะเริ่มตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดเพื่อให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งใจ
การเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มี 2 ช่วง คือ
เตรียมตัวในช่วงตั้งครรภ์ |
เตรียมตัวในช่วงหลังคลอด |
· หาความรู้เกี่ยวกับนมแม่ให้มากที่สุดจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ · รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ · หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบและเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ คาเฟอีน สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด · นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ · ไปตรวจครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ · แนะนำสามีและญาติให้มีบทบาทในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ · ดูแลเต้านมให้พร้อมก่อนให้นมลูก - อาบน้ำปกติ ไม่ใช้สบู่ ครีม/โลชั่น หรือขัดถูบริเวณหัวนม - สวมเสื้อชั้นในขนาดที่เหมาะสม ไม่หลวมหรือแน่นเกินไป - ตรวจสอบและแก้ไขความผิดปกติของหัวนมและลานนมก่อนคลอด ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ |
· แม่และครอบครัวควรมีความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ · แม่ควรคำนึงถึงหลักการ “3 ดูด” เพื่อให้นมแม่ผลิตและมีปริมาณเพียงพอสำหรับทารก
“ดูดเร็ว” คือ ให้ทารกดูดนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอดหรือ เร็วที่สุด
“ดูดบ่อย” คือ ให้ทารกดูดนมแม่ทุก 2-3 ชั่วโมงทั้งกลางวัน และกลางคืน และดูดได้บ่อยตามต้องการ
“ดูดถูกวิธี” คือท่าอุ้มของแม่และการดูดจากเต้าของทารก ถูกต้องโดย ลูกดูดถึงลานนม ไม่ใช่แค่ดูดตรงหัวนม ให้ลูกดูดจนเกลี้ยงเต้า
· ไม่ให้น้ำหรืออาหารอื่นแก่ทารกแรกเกิด · ไม่ใช้หัวนมหลอก หัวนมยางหรือขวดนมแก่ทารกแรกเกิดในช่วงอายุประมาณ 30-45 วัน เพื่อป้องกันภาวะสับสนหัวนม ซึ่งก็คือการที่ทารกไม่ยอมดูดนมจากเต้าของแม่ จะยอมดูดนมจากขวดนมเพียงอย่างเดียว เนื่องจากติดความรวดเร็วของการได้กินนมจากขวดนม แต่เมื่อทารกเข้าเต้ามารดาได้ดีร่วมกับน้ำนมแม่มาอย่างเต็มที่ จึงจะสามารถเริ่มให้ทารกกินนมจากขวดนมได้ · หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบและเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ คาเฟอีน สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด · นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
|
เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง