เด็กเล็ก
      A7 web banner
      A7 web banner

      นมแม่ มหัศจรรย์แห่งการส่งเสริมภูมิต้านทาน

      A7 pic1

      นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะในทุกหยดน้ำนมแม่นั้นให้ทั้งคุณค่าด้านโภชนาการและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน นมแม่ประกอบไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิด เช่น สารภูมิต้านทาน (Anitbody) และโปรตีนต่างๆ รวมทั้งแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกน้อย ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันจำเป็น ที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและสมอง เช่น DHA สารต่อต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินอีกด้วย

      สารอาหารในนมแม่มีความแตกต่างกันตามช่วงวัยและความต้องการทางร่างกายของลูกน้อย ลูกน้อยจะมีภูมิคุ้มกัน โดย การรับสารภูมิต้านทาน (Antibody) ผ่านทางนมแม่ ซึ่งช่วยให้ลูกน้อยสามารถปรับตัวสร้างภูมิต้านทานเพื่อปกป้องลูก จากสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลต่อความเจ็บป่วยได้เนื่องจากวัยทารกระบบภูมิต้านทานต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์

      น้ำนมแม่โดยเฉพาะน้ำนมแรก ที่เรียกว่า “คอลอสตรัม” นั้น เป็นน้ำนมนี้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกายมากกว่า การเร่งการเจริญเติบโต จึงอุดมไปด้วยสารหลากหลายชนิดที่เสริมสร้างภูมิต้านทานให้ทารกน้อย

      น้ำนมแรก จึงเปรียบดัง วัคซีนหยดแรกที่ช่วยปกป้องทารกจากเชื้อไวรัสและการติดเชื้อต่างๆ มีฤทธิ์ช่วยระบายอ่อนๆ กระตุ้นการขับถ่ายอุจจาระแรก หรือขี้เทาออกจากลำไส้ของทารก ซึ่งอุจจาระจะมีลักษณะหนา และมีสีดำอมเขียว และยังช่วยป้องกันการเกิดดีซ่านด้วย นอกจากนั้น น้ำนมแรกยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารมีสุขภาพดีและอุจจาระจับตัวเป็นก้อนนิ่มๆ เพราะมีโอลิโกแซคคาไรด์ หรือ พรีไบโอติก

      พรีไบโอติก คือแหล่งอาหารสำคัญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเรียกว่า โพรไบโอติก(Probiotics) การทำงานแบบ ซินไบโอติก ซึ่งพบในนมแม่ ช่วยส่งเสริมให้จุลินทรีย์สุขภาพในระบบทางเดินอาหารของลูกเติบโตได้ดี ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานที่ดี

      A7 pic2

      8 ส่วนประกอบ สร้างภูมิต้านทานในน้ำนมแม่

      • 1. อิมมูโนโกลบูลิน มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายจุลินทรีย์ก่อโรคติดต่อซึ่งเป็นอันตรายต่อทารก ในขณะเดียวกันก็ทำการปกป้องจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ของทารกน้อย
      • 2. พรีไบโอติก เป็นอาหารที่ส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ของทารก และช่วยลดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค
      • 3. แลคโตเฟอริน มีบทบาทในการดูดซึมธาตุเหล็กและขวางไม่ให้แบคทีเรียได้รับธาตุเหล็ก
      • 4. โปรตีน ดูดซึมวิตามินบี12 ซึ่งจะจับกับวิตามินบี12 และขัดขวางไม่ให้แบคทีเรียได้รับวิตามินบี12
      • 5. บิฟิดัส แฟคเตอร์ มีหน้าที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ “แลคโตบาซิลลัส บิฟิดัส” ในลำไส้ของทารก โดยปกป้องจุลินทรีย์ชนิดนี้ให้ปลอดภัยจากแบคทีเรียก่อโรค
      • 6. ไฟโบรเนคติน ช่วยเร่งการทำงานของเซลเม็ดเลือดขาวในการทำลายเชื้อโรค และช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการอักเสบในลำไส้
      • 7. ฮอร์โมนและสารกระตุ้นการเจริญเติบโต จะกระตุ้นให้ลำไส้ของทารกพัฒนาเต็มที่เร็วขึ้นและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในลำไส้
      • 8. เซลล์เม็ดเลือดขาว จะหลั่งเอ็นไซม์ชื่อไลโซโซม ซึ่งย่อยสลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียและทำลายแบคทีเรีย
      A7 pic3

      นอกจากนี้ ปริมาณธาตุอาหารหลัก ในน้ำนมแม่ช่วงระยะ 4 เดือนหลังคลอด ซึ่งได้แก่ โปรตีน ไขมัน น้ำตาลแลคโตส จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยทางร่างกายและสภาพแวดล้อมของคุณแม่ เช่น น้ำหนักตัว การมีประจำเดือน ปริมาณน้ำนม และอาหารที่คุณแม่รับประทาน การใส่ใจดูแลสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารเพื่อคุณภาพน้ำนมที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ มีการศึกษาพบว่าปริมาณ DHA ในน้ำนมแม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณ DHA ที่แม่รับประทานเข้าไป เช่นเดียวกับปริมาณวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ

      การให้นมแม่ช่วยเสริมภูมิต้านทาน พัฒนาสมองและร่างกายให้ลูกน้อย ยังมีประโยชน์ ต่อตัวคุณแม่เองอีกมากมายด้วยค่ะ

      • การให้ลูกดูดนมแม่จะช่วยให้คุณแม่เผาผลาญพลังงาน ทำให้น้ำหนักตัวคุณแม่กลับสู่ปกติได้เร็ว
      • ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ลดอาการวัยทอง
      • ทำให้มดลูกกลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น
      • ลดปัญหาเต้านมคัด ตึง
      • ช่วยส่งต่อความรักความผูกพันจากแม่สู่ลูก

      อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีเพิ่มน้ำนมแม่

      บทความที่เกี่ยวข้อง

      ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

      บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง