นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

พัฒนาการเด็กวัย 11-12 เดือน

การให้นมลูกน้อย

มีเด็กจำนวนมากที่เคยนอนกลางวัน 2 ครั้งแล้วค่อยๆ ลดลงเหลือเพียง 1 ครั้ง เด็กบางคนนอนครั้งละครึ่งชั่วโมง แต่นอนบ่อย ๆ วันละ 3-4 ครั้งก็มี เวลาตื่นตอนเช้าก็ต่างกัน บางคนลืมตาตื่นนอน 6 โมงเช้า พอได้ดูดนมก็นอนต่อถึง 8 โมง 9 โมง เด็กบางคนอาจตื่นมาปัสสาวะแล้วหลับต่อเมื่อได้ดูดนม บางคนหลีบสนิทดี ถึงผ้าอ้อมเปียก จนเปลี่ยนให้ก็ไม่ตื่น

พัฒนาการด้านร่างกาย

  • ใช้มือยันตัวขึ้นยืนได้เอง ก้มตัวจากท่ายืนได้
  • นั่งยองได้ถนัดขึ้น
  • จับดินสอขีด ๆ ไปมาได้
  • บางคนอาจดึงถุงเท้าออกเองได้
  • ใช้มือสองข้างทำอะไรไม่เหมือนกัน เช่น มือข้างหนึ่งถือของเล่นอย่างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งเล่นอของเล่นหรือปาของได้
  • จับถ้วยคว่ำเทน้ำทิ้ง

 

พัฒนาการด้านสังคม

  • รู้จักความหมายของคำว่า "ไม่"
  • ปฏิเสธสิ่งที่ตัวเองไม่ต้องการเก่งขึ้น
  • รู้จักฟังคำสั่งมากขึ้น หยุดพฤติกรรมของตัวเองได้
  • รู้จักฟังคำสั่งมากขึ้น หยุดพฤติกรรมของตัวเองได้
  • รู้จักเชื่อมโยง เช่น รู้ว่านกอยู่บนท้องฟ้า(ถ้าคุณแม่พาลูกออกไปข้างนอกและพูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอ)
  • เลียนแบบการออกเสียงได้เก่งขึ้น เช่น พูดคำว่า "แม่" "ไป"

 

การกระตุ้นพัฒนาการผ่านการเล่น

  • จัดที่ให้กว้างพอ เพื่อให้ลูกเกาะเดินได้อย่างปลอดภัย
  • พูดชมเชยลูกทุกครั้งเวลาที่เขาสามารถทำตามที่บอกได้
  • พูดคุยถึงสิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่ เช่น อาบน้ำ ทานข้าว แต่งตัว ฯลฯ
  • หากล่อง ถ้วยแบบเดียวกันแต่มีขนาดต่างกันให้ลูกจับซ้อนกัน
  • หัดให้เล่นจิ๊กซอว์ไม้ขนาดใหญ่ และหัดฟังเสียงวัตถุต่าง ๆ ที่ตกกระทบพื้น เพื่อสังเกตความแตกต่างของเสียง
  • ให้ลูกมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว และปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียวบ้าง เพื่อให้หัดเล่นเอง 

คุณรู้หรือไม่?

ลูกน้อยจะเริ่มภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองทำนับจากนี้ไปการส่งเสริมลูกในช่วงทานอาหารและช่วงเล่นของลูกสามารถช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองให้ลูกได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x