นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

พัฒนาการเด็ก 1 เดือน วิธีเลี้ยงทารกแรกเกิดให้เติบโตสมวัย

เลือกอ่านตามหัวข้อที่ต้องการ

พัฒนาการด้านอารมณ์

พัฒนาการด้านร่างกาย

พัฒนาการด้านการเรียนรู้

พัฒนาการด้านการสื่อสาร

คำถามที่พบบ่อย

 

พัฒนาการด้านอารมณ์

ทารกวัย 1 เดือนจะแสดงอารมณ์ผ่านการร้องไห้เพื่อสื่อถึงความต้องการ เช่น หิว ง่วงนอน ไม่สบายตัว หรือ รู้สึกกลัว วิตกกังวลใจ การตอบสนองต่อเสียงร้องของลูกอย่างรวดเร็วและอ่อนโยนจะช่วยสร้างความไว้วางใจ ความรู้สึกปลอดภัยให้กับลูก นอกจากนี้ การกอด สัมผัส และพูดคุยกับลูกบ่อยๆ จะช่วยเสริมสร้างความผูกพัน ระหว่าง พ่อ แม่ ลูก ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมต่อไป

 

พัฒนาการด้านร่างกาย

พัฒนาการเด็ก 1 เดือนยังมีการเคลื่อนไหวที่จำกัด แต่จะเริ่มมีการพัฒนาทางร่างกายดังนี้

- ทารกเริ่มพยายามยกศีรษะเมื่อนอนคว่ำ แต่ยังไม่สามารถควบคุมศีรษะได้ดี

- ทารกเริ่มยืดขาและแขนมากขึ้น และอาจมีการสะบัดแขนขาเมื่อรู้สึกตื่นเต้น

- เมื่อสัมผัสมุมปาก ทารกจะหันหน้าไปทางนั้นเพื่อเตรียมดูดนม

- ทารกจะกำมือแน่นเมื่อมีสิ่งมากระตุ้นฝ่ามือ

การให้ทารกนอนหงายบนพื้นผิวที่มั่นคงและปลอดภัยจะช่วยให้เขาเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

 

พัฒนาการด้านการเรียนรู้

เด็ก 1 เดือนจะเริ่มสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น ลูกสามารถจดจำเสียงของแม่และพ่อได้ และสามารถแยกแยะกลิ่นของแม่ได้ โดยเฉพาะใบหน้าของคน หรือวัตถุที่เคลื่อนไหว การสบตาและมองตามวัตถุเป็นการเรียนรู้เบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการนี้ได้โดยการยิ้ม พูดคุย และเคลื่อนวัตถุสีสันสดใสช้าๆ ต่อหน้าลูก เพื่อให้ลูกมองตามและจดจำ ซึ่งลูกสามารถมองเห็นได้ในระยะ 8-12 นิ้ว และชอบมองใบหน้าของคนมากกว่าวัตถุ

 

พัฒนาการด้านการสื่อสาร

ทารก 1 เดือนแม้จะยังไม่สามารถพูดได้ แต่จะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้หรือเสียงในลำคอ ดังนั้น การพูดคุย ร้องเพลง หรืออ่านนิทานให้ลูกฟังจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ภาษาและการสื่อสารในอนาคต นอกจากนี้ การตอบสนองต่อเสียงของลูกด้วยความสนใจจะช่วยให้เขารู้สึกว่าการสื่อสารของเขามีความหมาย รวมถึงอาจมีเสียงร้องที่ต่างกันเมื่อหิว ง่วง หรือรู้สึกไม่สบาย

 

คำถามที่พบบ่อย

พัฒนาการของทารก 1 เดือนควรเป็นอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้วทารกจะเริ่มจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่และตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคย เริ่มแสดงอารมณ์ผ่านการร้องเพื่อบอกถึงความต้องการ เช่น หิว ง่วง หรือไม่สบายตัว มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับตามธรรมชาติ เช่น การกำมือ หรือการหันหน้าไปทางที่มีการสัมผัสใกล้ปาก

ทารก 1 เดือนควรถ่ายอุจจาระวันละกี่ครั้ง?

การขับถ่ายของลูกวัย 0-1 เดือน จะยังเป็นระบบอัติโนมัติ คือ เมื่อทานนมเต็มกระเพาะ ก็จะถ่ายทันที  โดยเฉพาะเด็กที่กินนมแม่อาจถ่ายบ่อย เป็น 10 ครั้งหรือมากกว่า เพราะนมแม่ย่อยง่าย และดูดซึมได้ดี เมื่อลูกโตขึ้นการย่อยการดูดซึมพัฒนาขึ้นจำนวนครั้งของการขับถ่ายจะค่อยๆลดลง หรืออาจจะไม่ถ่ายทุกวันก็ได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตุลักษณะอุจจาระ มากกว่าการดูจำนวนครั้ง ถ้าทุกครั้งที่ถ่าย อุจจาระนิ่ม กลิ่นไม่คาว ไม่มีมูกเลือดปน ลูกน้อย อารมณ์ดี นอนหลับได้ แสดงว่าปกติ  

ทารก 1 เดือนสามารถมองเห็นอะไรได้บ้าง?

ลูกสามารถมองเห็นได้ในระยะประมาณ 8-12 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะที่พอดีกับการมองหน้าคุณแม่ขณะให้นม ลูกจะสนใจใบหน้าของคนมากกว่าวัตถุ และเริ่มมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวช้า ๆแต่ยังไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดหรือสีสันได้ชัดเจน

ทารก 1 เดือนสามารถทำอะไรได้แล้วบ้าง?

เด็กยังไม่สามารถควบคุมร่างกายได้เต็มที่ แต่สามารถขยับแขนขา สะบัดมือและเท้า ตอบสนองต่อเสียงดัง และอาจพยายามยกศีรษะเมื่อนอนคว่ำได้เล็กน้อย บางคนอาจเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้เพื่อสื่อสารเบื้องต้นกับพ่อแม่  การโต้ตอบกับลูกด้วยการพูดคุยหรือร้องเพลง จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกวัยนี้ได้เป็นอย่างดี

 

อ้างอิงจาก 

การขับถ่ายของทารกบ่งบอกถึงสุขภาพได้ - โรงพยาบาลศิครินทร์

 

M25-018


 รู้หรือไม่?

เมื่อลูกน้อยยิ้ม ลูกอาจตั้งใจจะยิ้มให้คุณจริงๆ ลูกยิ้มอย่างมีความหมายเมื่อเขายิ้มทั้งใบหน้าและนัยน์ตาเพื่อสื่อให้คุณรู้ว่าเขากำลังพอใจและมีความสุข ลูกจะยิ้มอย่างมีความหมายเมื่อพร้อม


บทความที่เกี่ยวข้อง

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x