นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

พัฒนาการเด็กวัย 7-8 เดือน

การกินช่วยส่งเสริมการเรียนรู้

ลูกวัยนี้สามารถคลานตามใจตัวเองได้ไกล ดังนั้นควรเก็บของใช้ให้เรียบร้อย ระวังพวกตู้เสื้อผ้าที่เปิดง่าย ของในตู้ก็ต้องระวังด้วย เช่น ลูกเหม็น ลิ้นชักที่ลูกเอื้อมถึง ต้องเก็บของให้เรียบร้อย ของที่อันตราย และของมีคมต้องเอาไปซ่อนไว้ที่อื่น ถ้าอยู่บ้านสองชั้น บ้านใต้ถุนสูง ต้องระวังลูกตกระเบียง ตรงบันไดควรทำที่กั้นเอาไว้

พัฒนาการด้านร่างกายเด็กวัย 8 เดือน

  • คลานได้คล่องขึ้น และสามารถลุกนั่งได้เอง
  • ใช้มือในการหยิบ จับ สัมผัสสิ่งของต่าง ๆ และใช้นิ้วในการหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ได้
  • ชอบปาของเล่นให้มีเสียงดัง แล้วให้คุณแม่หยิบมาคืนให้
  • ถือของมือเดียวได้ และสามารถเปลี่ยนมือถือของได้

พัฒนาการด้านสังคม

  • ตะโกนเรียกร้องความสนใจ
  • ตอบสนองต่อการเรียกชื่อ
  • ติดแม่ กลัวการแยกจาก ขี้อาย กลัวคนแปลกหน้า
  • พยายามเลียนเสียงพยัญชนะ แต่ยังไม่มีความหมาย
  • ส่งเสียงดังเพื่อเรียกร้องความสนใจ

การกระตุ้นพัฒนาการผ่านการเล่น

  • จัดสถานที่ภายในบ้านให้กว้างขวางเพื่อสะดวกในการหัดคลาน
  • พูดคำสั้น ๆ ให้ลูกหัดพูดตาม
  • หากล่องหรือตะกร้ามาให้ลูกโยนของเล่นลงไป เพื่อฝึกให้ลูกโยนของอย่างมีจุดมุ่งหมาย และให้ลูกเรียนรู้การกะระยะ
  • หาของเล่นมาช่วยกระตุ้นการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา
  • พาลูกออกนอกบ้านเพื่อให้รู้จักกับคนอื่นบ้าง
  • เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ถึงการหายไปและกลับมา
  • สอนเรียกชื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • วางของเล่นให้ไกลตัวมากขึ้น เพื่อให้ลูกคลานไปหยิบ
  • ให้ถือของที่มีลักษณะเป็นแท่งเพื่อให้ลูกหัดใช้นิ้ว เช่น ไม้เคาะเครื่องดนตรี หรือหยิบขนมปังเข้าปาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x