นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

7 เคล็ดลับการเลือกอาหารเสริมเริ่มแรกสำหรับลูกรัก

พ่อแม่มือใหม่อาจเคยสงสัย นอกจากนมแม่ อาหารเสริมเริ่มแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกนั้น ควรเป็นอาหารเสริมอะไร

พ่อแม่มือใหม่อาจเคยตั้งคำถาม เมื่อถึงเวลาที่ทารกเข้าสู่วัยที่ต้องเริ่มทานอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่ เพื่อเป็นการเติมเต็มพัฒนาการ และความสมบูรณ์ แข็งแรง ของร่างกายลูก อาหารเสริมเริ่มแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกนั้น ควรเป็นอาหารอะไร

หลังจากอายุ 6 เดือน ลูกน้อยจำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารบางอย่างเพิ่ม เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินเอ ไอโอดีน และแคลเซียม เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตตามปรกติ จึงควรเริ่มให้อาหารเสริมควบคู่กับการทานนมแม่ค่ะ

เช็คลิสต์ง่ายๆ ช่วยคุณแม่ในการเลือกอาหารแรกเริ่มที่ดีที่สุด สามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้นะคะ

  1. คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีความหลากหลาย และมีปริมาณเหมาะสมเพื่อให้ลูกน้อยได้รับ พลังงาน และสารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย นอกเหนือจากที่ได้รับจากนมแม่ค่ะ
  2. อาหารควรมีความหยาบ/ละเอียด และรสชาติที่หลากหลาย เพื่อช่วยฝึกการเคี้ยว การกลืนของลูกน้อย และยังช่วยให้ลูกน้อยคุ้นเคยกับอาหารอื่นๆ และเป็นการฝึกนิสัยการทานอาหารที่ดีเมื่อทารกเข้าสู่วัยเด็กเล็กค่ะ
  3. เมื่อแรกเริ่มอาหารควรมีเนื้อละเอียดเพื่อให้ลูกน้อยกลืนและย่อยได้ง่าย เมื่อลูกน้อยเคี้ยวและกลืนอาหารได้ดีขึ้น จึงค่อยๆ เพิ่มความหยาบของอาหารมากขึ้น
  4. ควรเริ่มต้นด้วยการให้อาหารบดเหลวที่มีส่วนผสมชนิดเดียว คุณแม่อาจเริ่มจากคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวสวยบดผสมน้ำซุป เมื่อดูแล้วว่าร่างกายลูกรับข้าวได้แล้ว คุณแม่จึงค่อยเพิ่มชนิดอาหารไปพร้อมกับข้าวบดทีละชนิด และสังเกตความเปลี่ยนแปลง เช่น ข้าวบดกับผักกาดขาว หรือข้าวบดกับตำลึง เมื่อลูกคุ้นเคยกับรสชาติที่หลากหลายแล้ว คุณแม่อาจเริ่มผสมอาหารสองชนิดหรือมากกว่านั้น เช่น ข้าวบดผักผสมไข่แดง เป็นตัน
  5. อาหารของลูกต้องไม่มีส่วนผสมของกลูเตน (gluten) ซึ่งเป็นโปรตีนในอาหารที่ทำจากข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต และเป็นอาหารที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดภูมิแพ้น้อยที่สุด เช่น โจ๊กข้าวเปล่า หรือ  ข้าวตุ๋นผสมน้ำแกงจืด ผักและผลไม้บดเหลว  เริ่มต้นด้วย ผักใบสีเขียวอ่อน เช่น ผักกาดขาว กระหล่ำปลี ผักใบเขียวเข้ม เช่น บร็อคโคลี่ ผักโขม และ ผักผลไม้ที่มีสี ส้ม แดง เหลือง เช่น มะเขือเทศ แครอท ฟักทอง
  6. ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เช่น ไข่แดง ตับ ไข่ทั้งฟอง ปลา เต้าหู้อ่อน เนื้อสัตว์ และสัตว์ปีกต่างๆ เมื่อลูกมีอายุเพิ่มขึ้นนะคะ
  7. ไม่ควรเติมน้ำตาล, เกลือ หรือเครื่องเทศ/ซอสปรุงรสในอาหารของลูก การเติมเครื่องปรุงรสเร็วเกินไปอาจทำให้ลูกติดรสหวานหรือเค็มเมื่อเติบใหญ่
hi-family-resilience-handbook-ipad

รับฟรี! คู่มือออนไลน์ “เลี้ยงลูกให้มีภูมิต้านทาน”

เพียงสมัครสมาชิกไฮ-แฟมิลี่คลับ เราพร้อมเคียงข้างคุณแม่ทุกช่วงเวลา

  • รับฟรี! คู่มือออนไลน์ “เลี้ยงลูกให้มีภูมิต้านทาน” โดยคุณหมอเจ้าของเพจ “ตามใจนักจิตวิทยา”
  • บริการให้คำปรึกษาโดยทีมพยาบาล นักโภชนาการ และคุณแม่
  • ข้อมูลสุขภาพที่เหมาะกับคุณ ผ่าน SMS

บทความที่เกี่ยวข้อง

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x