นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

วิธีการเริ่มให้อาหารเสริมสำหรับทารกน้อยวัย 6 เดือน

นมแม่นั้นดีที่สุดสำหรับทารก แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยที่ต้องมีการเสริมอาหาร คุณแม่ก็จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการที่จะค่อยๆ ฝึกให้ลูกน้อยรับประทานอาหารเสริมอย่างถูกต้อง เพื่อเขาจะได้มีพัฒนาการด้านโภชนาการที่เหมาะสมเมื่อลูกน้อยเติบโตขึ้น

โดยทั่วไป ทารกจะพร้อมลองอาหารที่หยาบขึ้น นอกเหนือจากของเหลว ราวๆ อายุ 6 เดือนค่ะ ซึ่งอาจจะช้าเร็วต่างกันออกไปในทารกแต่ละคนนะคะ ลองสังเกตดูความพร้อมของลูกน้อยได้จากท่าทีของลูก ว่าลูกเริ่มสนใจอาหารที่คุณกำลังกินอยู่ หรือดูหิวมากขึ้นในระหว่างมื้ออาหารก็ได้ค่ะ

ในการให้อาหารเสริมตามวัยนั้น คุณแม่สามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมของวัน อาจเป็นมื้อเช้าหรือมื้อกลางวัน เพิ่มจากการทานนมปกติของลูก และมื้อนมของลูกจะลดลงเป็นสัดส่วนกับมื้ออาหารตามวัยที่เพิ่มขึ้นนะคะ

ควรเริ่มจากอาหารที่อ่อนย่อยง่าย ให้ลูกทานอาหารทีละชนิด และเปลี่ยนอาหารชนิดใหม่ทีละอย่างทุก 3-5 วัน เช่น  คุณแม่อาจเริ่มจากคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวสวยบดผสมน้ำซุป  เมื่อดูแล้วว่าร่างกายลูกรับข้าวได้แล้ว จึงค่อยเพิ่มชนิดอาหารไปพร้อมกับข้าวบดทีละชนิด และสังเกตความเปลี่ยนแปลง เช่น ข้าวบดกับผักกาดขาว หรือข้าวบดกับตำลึง เมื่อลูกทานอาหารได้ดี จึงเติมเนื้อสัตว์อื่น เช่น ไข่แดง ตับ ปลา เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้ครบ 5 หมู่ค่ะ

การให้ลูกได้รู้จักอาหารทีละชนิดนั้น ก็เพื่อให้คุณแม่สังเกตระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย หรือผิวหนังของลูกว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร เช่น จากการแพ้อาหารบางชนิด เป็นต้น  นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกมีเวลารับรู้และชื่นชอบกลิ่นรสชาติใหม่ๆ และความหยาบ/ละเอียดของอาหารแปลกใหม่

คุณแม่ควรใส่ใจกับความหยาบ/ละเอียด ความข้นหนืด และปริมาณของอาหารที่ป้อนให้ลูกน้อยทาน ควรเริ่มทีละน้อยด้วยการป้อนอาหารบดเหลวผสมนมแม่ หรือน้ำซุปครั้งละ 1-2 ช้อนชา และค่อยๆ เพิ่มขนาดบริโภคและความหยาบของอาหารเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และเมื่อลูกสามารถทานอาหารหยาบได้มากขึ้น จึงค่อยๆ เพิ่มมื้ออาหาร จาก 1 มื้อ เมื่ออายุ 6 เดือน  เป็น 2 มื้อ เมื่ออายุ 8 เดือน  และ เป็น 3 มื้อเมื่ออายุ 10 เดือน  ตามลำดับนะคะ

บางครั้งลูกน้อยอาจจะปฏิเสธ เพราะไม่คุ้นเคยหรือไม่ชอบ  ควรเว้นระยะ 3-4 วัน แล้วลองให้ลูกลองทานอีกครั้งนะคะ  ไม่ควรบังคับให้ลูกทานอาหาร เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับอาหารและการทานอาหาร ควรสังเกตอาการท่าทางของลูกที่แสดงว่าพอแล้วหรืออยากทานเพิ่ม

คุณแม่ควรสนับสนุนให้ลูกทานอาหารด้วยตัวเอง และหยิบอาหารกินเองเมื่อลูกแสดงความสนใจและสามารถทำเองได้ เช่น  ให้ลูกถืออาหารที่ไม่แข็งทานเอง เช่น ฟักทองนึ่ง มันต้มที่หั่นเป็นชิ้นยาว เมื่ออายุ 8-9 เดือน  แต่ต้องระวังไม่ให้ลูกทานอาหารที่มีลักษณะกลม ลื่นและแข็ง เช่น เช่น องุ่น ลูกชิ้นปลา และเนื้อสัตว์หั่นเป็นลูกเต๋า  โดยเฉพาะผลไม้ที่มีเม็ดนะคะ เพราะมีโอกาสที่จะทำให้ลูกสำลักได้ค่ะ

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x