นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

การแพ้อาหารและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

อาการแพ้อาหารของลูกน้อย หากลูกแพ้อาหารจะแสดงอาการต่อไปนี้ภายในเวลาไม่กี่นาทีหรือเพียงไม่กี่วินาที

  • ไอ
  • คอแห้ง คันคอและลิ้น
  • คันตามผิวหนังและร่างกาย
  • คลื่นไส้และท้องอืด
  • ท้องเสียและ/หรืออาเจียน
  • หายใจหอบถี่
  • ริมฝีปากและคอบวม
  • น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
  • ปวดตา ตาแดงและคัน

อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้

อาหารบางชนิดจะทำให้ลูกน้อยมีอาการแพ้ได้มากกว่าอาหารชนิดอื่น และเป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องระมัดระวัง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

มีอาหารบางชนิดที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกกินในช่วงอายุต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการแพ้อาหาร ในระหว่างที่ระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยกำลังพัฒนา นั่นก็คือ

  • กลูเต็น (ก่อน 6 เดือน)
    กลูเต็นเป็นโปรตีนที่พบในธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโอ๊ต คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารจำพวกนี้ในช่วง 6 เดือนแรก โดยให้ดูส่วนผสมที่ฉลาก
  • ปลา (ก่อน 6 เดือน) 
    ปลาอาจเป็นสาเหตุของอาการแพ้ในทารกบางคนได้ ดังนั้น คุณแม่ควรพยายามหลีกเลี่ยงการให้ลูกกินปลาในช่วง 6 เดือนแรก แต่หลังจากอายุ 6 เดือน ก็สามารถให้ลูกกินปลาตามปกติ และเป็นส่วนหนึ่งของการให้ลูกทานอาหารครบ5 หมู่ได้
  • ถั่วลิสง และอาหารที่ทำจากถั่วลิสง หากมีประวัติการแพ้ถั่วในครอบครัวมาก่อน คุณแม่ไม่ควรให้ลูกกินถั่วลิสงหรืออาหารที่ทำจากถั่วลิสงจนกว่าลูกจะมีอายุครบ 3 ขวบ แต่หากคุณแม่และครอบครัวไม่มีประวัติการแพ้ ก็สามารถให้ลูกกินได้หลังอายุ 6 เดือน แต่ต้องไม่ให้ลูกกินถั่วทั้งเมล็ด ไม่ว่าชนิดใดก็ตามก่อนอายุ 5 ขวบ เพราะอาจมีความเสี่ยงทำให้สำลักได้

คุณแม่ต้องทำอย่างไรบ้างหากลูกน้อยมีอาการแพ้อาหาร

ถ้าคุณแม่คิดว่าลูกน้อยมีอาการแพ้อาหาร ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยปัญหาและให้คำแนะนำที่ถูกต้องว่าควรจะจัดการดูแลอย่างไร โดยในเบื้องต้นคุณแม่สามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกได้ด้วยตัวเอง เนื่องจาก กฎหมายการแสดงข้อมูลบนฉลาก ทำให้คุณแม่สามารถตัดสินใจเลือกอาหารให้ลูกน้อยกินได้ง่ายขึ้น แม้ว่าการรับมือกับปัญหาการแพ้อาหารหรืออาหารไม่ย่อยของลูก อาจจะทำให้คุณแม่ท้อแท้ในช่วงแรก แต่คุณแม่ส่วนใหญ่ก็สามารถปรับตัวจนเคยชินได้

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x