ปั๊มนมแม่แล้ว...เก็บน้ำนมอย่างไร ใช้อย่างไรนะ
คุณแม่ทุกท่านต่างก็ทราบว่าน้ำนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะในน้ำนมแม่มี ซินไบโอติก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับซินไบโอติก)
เพื่อให้ลูกรักกินนมแม่ได้นานที่สุด นอกจากวิธีการปั๊มนมที่คุณแม่มือใหม่หลายท่านอยากทราบแล้ว ขั้นตอนหลังจากปั๊มนมมาได้แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ คุณแม่ควรเก็บน้ำนมอย่างไร เพื่อคงคุณค่าของน้ำนมไว้ได้อย่างดีที่สุด และนอกจากนั้น คุณแม่จะทำการละลายน้ำนมที่เก็บไว้มาใช้อย่างถูกต้องได้อย่างไร มาดูกันเลยค่ะ
เก็บน้ำนมแม่ที่ไหน
สิ่งสำคัญที่สุดคือภาชนะต้องสะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อ โดยรูปแบบภาชนะอาจเป็นขวดพลาสติก หรือถุงพลาสติกพิเศษ สำหรับเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ค่ะ
เก็บนมแม่ได้นานแค่ไหน
อุณหภูมิของที่เก็บจะเป็นปัจจัยหลักที่จะตอบคำถามคาใจของคุณแม่คำถามนี้ค่ะ (ดูตามตาราง)
ที่จริงแล้วการแช่แข็งไว้นานๆ อาจจะมีการสูญเสียสารอาหารหรือสารเสริมภูมิต้านทานบางส่วนในน้ำนมแม่ ถ้าเป็นไปได้ น้ำนมที่สดใหม่จะดีที่สุดเลยค่ะ ในกรณีที่คุณแม่จำเป็นต้องเก็บน้ำนมแช่แข็งไว้ เราขอแนะนำวิธีละลายน้ำนมซึ่งมีหลากหลายวิธี ดังนี้ค่ะ
- แช่ขวดหรือถุงบรรจุน้ำนมแช่แข็งในชามน้ำอุ่นไม่ใช่น้ำร้อนจัด
- ถือขวดหรือถุงบรรจุน้ำนมแช่แข็งไว้ เปิดให้น้ำก๊อกไหลผ่านอย่างน้อย 10 นาที
- ย้ายจากช่องแช่แข็งมาตู้เย็นช่องปกติก่อน 1 คืนแล้วจึงนำไปอุ่นใช้ตามปกติ
- นมที่ละลายแล้วไม่ควรนำไปอุ่นใช้อีก
สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อต้องเก็บน้ำนมแม่
อย่าต้มหรือทำให้ร้อนด้วยเตาไมโครเวฟเด็ดขาดนะคะ เนื่องจากสารอาหารบางส่วนจะถูกทำลาย และต้องทิ้งน้ำนมที่ปั๊มมาแล้วป้อนลูกไม่หมดไปเลย อย่าเสียดาย ไม่ควรเก็บน้ำนมไว้ให้ลูกกินในครั้งต่อไป เนื่องจากอาจมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้ลูกน้อยป่วยได้ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง