นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

Baby wont eat Banner 5tips baby wont eat

DO & DON’T รับมือลูกกินยาก

DO & DON’T รับมือลูกกินยาก

อีกหนึ่งในพฤติกรรมในวัย “2 Terrible” หรือ ลูก “2 ขวบจอมแสบ” ของคุณพ่อคุณแม่ระยะนี้ ก็คือ จากลูกน้อยที่เคยหิวโซอาจกลายเป็นเด็กกินยากใช่ไหมคะ แต่ไม่ต้องกังวลนะคะ พฤติกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการปกติ ซึ่ง 1 ใน 3 ของเด็กวัยหัดเดินทุกคนจะเป็นเช่นนี้ค่ะ

พฤติกรรมนี้เหมือนเป็นการประกาศอิสรภาพและแสดงความรู้สึกเป็นตัวเอง ด้วยการปฏิเสธไม่ยอมกินอาหารที่เคยชอบ และจะแสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ ถ้าคุณพ่อคุณแม่บังคับให้กินด้วยละค่ะ

ต่อไปนี้คือสิ่งที่ไม่ควรทำ (Don’t) และควรทำ (Do) เมื่อพบปัญหาลูกกินยาก

DON’T ไม่ควรทำ

  1. รู้สึกโกรธ หรือไม่พอใจ
  2. ทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ บ่นพึมพำ หรือเอ็ดตะโร 
  3. เอาชนะลูกเรื่องอาหาร
  4. บังคับให้ลูกกิน
  5. เดินตามป้อนอาหาร
  6. ป้อนอาหารหน้าทีวี
  7. ติดสินบนด้วยลูกกวาด อมยิ้ม หรือของหวาน
  8. ลงโทษลูกน้อยที่ไม่ยอมกินอาหารบางอย่าง

DO ควรทำ

  1. ใจเย็น อย่าโต้ตอบ
  2. ให้ลูกเลือกอาหารที่มีประโยชน์ชนิดต่างๆ จากกลุ่มอาหารประเภทเดียวกัน เช่น ถ้าลูกไม่ชอบบร็อกโคลี ลูกอาจจะชอบผักปวยเล้งก็ได้ค่ะ
  3. เก็บจานเมื่อลูกน้อยกินพอแล้ว
  4. ถ้าลูกกินอาหารมื้อหลักน้อย ควรรอสักพัก แล้วค่อยเสริมด้วยอาหารว่างที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพนะคะ

การรับมือในทางอื่นๆ กับพฤติกรรมลูกไม่ยอมทานข้าว

  • ควรให้ลูกกินเองที่โต๊ะอาหาร
  • ควรให้กินในปริมาณแต่น้อย
  • ตกแต่งอาหารให้แลดูน่าทาน เช่น มีรูปร่าง และสีสันน่ากิน
  • ทำให้การกินอาหารเป็นช่วงเวลาที่มีความสนุกสนาน เบิกบานใจ และมีส่วนร่วมได้
  • ชมลูกทุกครั้งเมื่อลองกินอาหารใหม่ๆ
  • ยอมให้ลูกหยุดกินเมื่อรู้สึกอิ่ม วิธีนี้เป็นการสอนให้ลูกรู้จักตอบสนองต่อสัญญาณความรู้สึกอิ่มของร่างกายของตัวเขาเองนะคะ
Hi-family-resilience-handbook-ipad

รับฟรี! คู่มือออนไลน์ “เลี้ยงลูกให้มีภูมิต้านทาน”

เพียงสมัครสมาชิกไฮ-แฟมิลี่คลับ เราพร้อมเคียงข้างคุณแม่ทุกช่วงเวลา

  • รับฟรี! คู่มือออนไลน์ “เลี้ยงลูกให้มีภูมิต้านทาน” โดยคุณหมอเจ้าของเพจ “ตามใจนักจิตวิทยา”
  • บริการให้คำปรึกษาโดยทีมพยาบาล นักโภชนาการ และคุณแม่
  • ข้อมูลสุขภาพที่เหมาะกับคุณ ผ่าน SMS
carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x