นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

นมแม่ดีที่สุด

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือนทานนมแม่อย่างเดียว และหลังจาก 6 เดือนซึ่งเป็นช่วงที่ระบบย่อยอาหารของลูกน้อยเริ่มย่อยอาหารทั่วไปได้ จึงค่อยเริ่มให้อาหารตามวัยควบคู่กับนมแม่ เพื่อให้ลูกได้สารอาหารอย่างครบถ้วน

ในประเทศไทย แนะนำให้เริ่มอาหารตามวัยเมื่อทารกอายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป ควบคู่กับการให้นมแม่ต่อไปถึงอายุ 2 ปี แต่หากพบว่าลูกน้อยมีภาวะการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมีปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้สะดวก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทางเลือกอื่นๆ รับคำแนะนำที่เหมาะสม

การเตรียมตัวให้นมแม่

การเตรียมให้นมแม่จะมีสองช่วง คือ ช่วงก่อนคลอดกับหลังคลอด ซึ่งทั้งสองช่วงต้องอาศัยสุขอนามัยและภาวะโภชนาการที่ดีของคุณแม่ เช่น การนอนหลับพักผ่อนที่พอเพียง การดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ การทานอาหารกระตุ้นน้ำนม การเลี่ยงอาหารดิบ เลิกบุหรี่ ฯลฯ

โดยก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถหาความรู้เพิ่มเติม และตรวจสอบ รักษาความผิดปกติของหัวนม และลานนมภายใต้การดูแลของแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญก่อน เมื่อหลังคลอด ควรเข้าใจเกี่ยวกับวิธีให้นมลูก เช่น การดูดนมที่ถูกวิธี การอุ้มให้นม และการปั๊มนมเก็บอย่างถูกวิธี (อ่านข้อมูลด้านล่าง)

5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการให้นมลูก

1. ท่าให้นมทั่วไปจะมี 3 ท่าด้วยกัน แต่ให้ลองท่าทั่วไปก่อน ด้วยจัดนั่งให้สบายบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง ให้แม่นั่งสบายที่สุด

2. อุ้มลูกไว้แนบชิดตัว และพยายามให้ศีรษะ ไหล่ และตัวลูกนอนอยู่ในแนวตรง

3. ให้จมูกของลูกอยู่ตรงบริเวณหัวนม แล้วใช้นิ้วเขี่ยปากเบาๆ ก่อน

4. รอให้ลูกเริ่มอ้าปาก ค่อยให้อุ้มลูกเข้าหาเต้านม (ไม่ยื่นตัวคุณเข้าหาลูก) 

5. คุณแม่จะรู้ว่าลูกดูดนมถูกวิธีหรือยัง จากการสังเกตริมฝีปากล่างซึ่งควรเผยอออก และส่วนเดียวที่แม่มองเห็นได้ คือ ส่วนที่อยู่เหนือริมฝีปากบนที่อยู่บริเวณลานหัวนม (บริเวณที่เป็นสีเข้มรอบหัวนม) และคุณแม่ต้องคอยฟังเสียงกลืนนมของลูกด้วย ถึงแน่ใจว่าได้รับนมจริง

ข้อควรระวัง: ถ้าลูกเอามือปัดป่ายไปมาอยู่เสมอ ให้ใช้ผ้าห่อตัวลูกไว้เพื่อให้แขนแนบอยู่ข้างลำตัว อย่าเพิ่งตกใจถ้าลูกหยุดดูดนมเป็นครั้งคราว เพราะเป็นเรื่องปกติ ถ้าคุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวขณะที่ลูกกินนม บางทีอาจเป็นเพราะท่านั่งของคุณหรือวิธีการดูดนมของลูกที่ไม่ถูกต้อง ถ้าเป็นเพราะท่าให้นม คุณแม่อาจผ่อนคลายด้วยการวางลูกไว้บนหมอนสำหรับให้นม

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง 3 ท่าให้นมยอดนิยมและพื้นฐานการให้นมอื่นๆ:


หนึ่งเคล็ดลับสุดท้าย

จำไว้ว่าการเตรียมอาหารที่ปลอดภัยนั้นสำคัญมาก ดังนั้นโปรดตรวจสอบว่าอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่อุ่นขึ้นใด ๆ มีความร้อนตลอดเวลาก่อนที่คุณจะรับประทาน


carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x