นมแม่ดีที่สุด
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก
เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าลูกของเรานั้นเป็นสมาธิสั้นหรือไม่ ดังนั้นก่อนอื่นต้องรู้ว่า สาเหตุของโรคสมาธิสั้นเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกันโดยมีปัจจัยหลัก คือ
1. ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ระบบประสาท ซึ่งเกิดจากสารในสมองส่วนหน้า ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมพฤติกรรมและสมาธิมีการทำงานที่ลดลง การดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ของแม่ขณะตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด และมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
2. ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู ซึ่งทำให้เด็กมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้นมากขึ้น โดยการเลี้ยงดูที่ขาดระเบียบวินัย นอนดึก นอนน้อย และมีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และดูโทรทัศน์เป็นเวลานาน
คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรหมั่นสังเกต และติดตามพฤติกรรมของลูกอย่างใกล้ชิด หากสงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้น ควรปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และกุมารแพทย์ทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเพื่อร่วมกันดูแลต่อไป
พฤติกรรมชวนสงสัยลูกเข้าข่ายสมาธิสั้นนั้น สังเกตได้จาก 3 พฤติกรรม ดังนี้
1. มีนิสัยซน ไม่อยู่นิ่ง หรือที่เรียกว่าไฮเปอร์ (Hyperactivity) ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งตรงหน้า (ไม่รวมถึงการดูสื่ออิเล็คทรอนิกส์)
2.ไม่สามารถตั้งใจกับกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้นาน
3. อาการเบื่อง่าย เบื่อของเล่นง่าย วอกแวกอยู่เสมอ หรือ รออะไรได้ไม่นาน (Impulsive) ซึ่งอาการทั้ง 3 จะส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของลูกได้
1. ชมลูกบ่อยเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกที่มีสมาธิสั้นรับรู้ว่า อะไรที่เราอยากให้ทำบ้าง การให้คำชมอาจเป็นในรูปแบบรางวัลก็จะดีมาก เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกทำในสิ่งที่เราต้องการสอน
2. การตั้งเวลา การจับเวลา เช่น ตั้งเวลาเตือนเมื่อหมดเวลาเล่น เมื่อไหร่ที่ต้องทำการบ้าน หรือกิจกรรมต่างๆ อาจใช้นาฬิกาที่เห็นตัวเลขใหญ่ชัดเจนเพื่อช่วยกระตุ้นการให้ความสำคัญกับเวลา
3.ดูแลความต้องการขั้นพื้นฐาน ได้แก่ อาหารการกิน การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามช่วงวัย รวมถึงให้ลูกหมั่นออกกำลังกาย และหากิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวให้กับลูก เพื่อจะลดพลังงานส่วนเกินออกไป ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มสมาธิ
4. สื่อสารด้วยคำสั้นๆ ได้ใจความ เรียบเรียงคำพูดให้ดี ก่อนจะสื่อสารกับลูก เพราะเด็กสมาธิสั้น จะไม่มีความอดทนในการฟังอะไรนานๆ ได้
5. หามุมสงบ เงียบ ไม่มีเสียง หรือสิ่งรบกวน เพื่อให้ลูกทำกิจกรรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเล่น จะทำการบ้าน อย่าให้มีสิ่งใดมารบกวนได้ง่าย โดยเฉพาะ ทีวี โทรศัพท์มือถือ สิ่งแวดล้อมนอกบ้าน ฯลฯ
6. หมั่นให้ลงมือทำจนเกิดความเคยชิน เพราะเด็กสมาธิสั้นมีปัญหาที่การลงมือปฏิบัติ อย่ามัวแต่พูดคุย หรือสอน แต่ควรให้ลงมือทำมากๆ
7. หยุดโทษตัวเอง และหยุดโทษลูกกับปัญหาต่างๆ และอย่านำปัญหาของผู้ใหญ่ ไปใส่รวมกับของลูก ไม่มีวิธีการไหนที่ได้ผลทุกวัน ถ้าวันไหนเกิดไม่ได้ผล อย่าเพิ่งโทษตัวเอง ว่าตัวเองเป็นพ่อแม่คนไม่ได้ เด็กจะมีวันดี กับวันที่ไม่ดีได้เช่นกัน ควรให้อภัยกับลูกมากๆ และพยายามเข้าใจอย่างใจเย็นที่สุด
Source:
https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/วิธีรับมือเด็กสมาธิสั้/
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/child/05292014-0936
จำไว้ว่าการเตรียมอาหารที่ปลอดภัยนั้นสำคัญมาก ดังนั้นโปรดตรวจสอบว่าอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่อุ่นขึ้นใด ๆ มีความร้อนตลอดเวลาก่อนที่คุณจะรับประทาน
คุณแม่ทุกคนล้วนต้องการความช่วยเหลือบ้างเป็นครั้งคราว ดังนั้นถ้ามีเรื่องที่คุณอยากรู้ หรือขอคำแนะนำ อย่าลังเลที่จะปรึกษากุมารแพทย์หรือสูติแพทย์ หรือติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญของเรา เรายินดีให้ความช่วยเหลือเสมอ
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง