เด็กเล็ก
      hiq-header-cl-2
      hiq-header-cl-2

       

      เพราะความเจ็บป่วย ทำให้ลูกน้อยมีโอกาสเรียนรู้ได้ลดลง

      คุณแม่ทราบไหมคะ การเจ็บป่วยของลูกน้อยอาจส่งผลทำให้เขาไม่พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งๆที่เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ลูกน้อยควรได้เริ่มเเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบด้าน และฝึกพัฒนาการในด้านต่างๆให้พร้อม

      เรามาดูกันค่ะว่าความเจ็บป่วยนี้ส่งผลต่อการเรียนรู้ได้อย่างไร ตามรูปด้านล่างนี้ 

       

      Hi-Q Hi-Family Club infographic 3841*2900px. 002

       

      จากรูปนี้คุณแม่จะเห็นว่าการที่ลูกน้อยมีภาวะเสียสมดุลในลำไส้ ซึ่งอาจจะเกิดมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

      1. เกิดจากการผ่าคลอด เพราะเด็กผ่าคลอดไม่ได้รับภูมิต้านทานตั้งต้นมาจากช่องคลอดของแม่ จึงมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ

      2. เจ็บป่วยบ่อยหรือเกิดการติดเชื้อ ทำให้เด็กมีภาวะเสียสมดุลในลำไส้ อาจส่งผลทำให้เด็กมีภูมิต้านทานที่ลดลงได้

      3. มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา โดยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อจะไปทำลายทั้งเชื้อก่อโรคและจุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติก) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของลูกน้อย ทำให้เขายิ่งเกิดภาวะเสียสมดุลในลำไส้ ส่งผลทำให้ภูมิต้านทานที่ลดลงได้

      การที่ลูกน้อยเจ็บป่วยบ่อย ส่งผลทำให้มีภูมิต้านทานที่ลดลง เกิดเป็นวงจรไม่รู้จบ ทำให้เขาไม่พร้อมที่จะเริ่มเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ อีกทั้งจากการศึกษาพบว่าการที่เด็กติดเชื้อบ่อยๆในช่วงวัยเด็ก อาจส่งผลต่อ IQ เมื่อโตขึ้นได้

      เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรหันมาใส่ใจสุขภาพของลูกน้อยกัน และมองหาโภชนาการที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ลูก นมแม่ถือเป็นโภชนาการที่ดีที่สุดที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของลูกให้แข็งแรง เพราะใน “นมแม”" มีซินไบโอติกที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติก) และอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ (พรีไบโอติก) ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ลูกน้อยให้แข็งแรง พร้อมเผชิญและเรียนรู้สู่โลกกว้าง แต่ในกรณีที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์เรื่องโภชนาการลูกน้อยเพราะเมื่อลูกน้อยแข็งแรง ก็จะมีความพร้อมในการเรียนรู้ พัฒนาฝึกฝนทักษะและพัฒนาการของตัวเองให้เก่งและเติบโตสมวัยค่ะ

       

       

      References:

      1. Levy et al. Nat Rev Immunol. 2017;17:219-232.

      2. Sevelsted et al. Pediatrics. 2015;135(1):e92-e98.

      3. Auger et al. J Pediatr. 2020;231:178-184.

      4. Miller et al. PLoS Med. 2020;17(11): e1003429.

      5. Backhed et al. Cell Host & Microbe. 2015;17:690-703.

      6. Aversa et al. Mayo Clin Proc. 2021;96(1):66-77.

      7. Khandaker et al. JAMA Psychiatry 2018;75(4):356-362.

      8. Basch C.E. J Sch Health. 2011;81:593-598.