นมแม่ดีที่สุด
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก
เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง
ปัจจัยที่ทำให้ลูกน้อยเจ็บป่วยได้ง่ายในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต พร้อมวิธีรับมือเพื่อลดโอกาสเจ็บป่วย
คุณแม่คงกำลังกังวลสุขภาพของลูกน้อยหรือป่าว? อยากให้เขามีสุขภาพที่แข็งแรง เติบโตสมวัยและมีพัฒนาการรอบด้าน รู้หรือไม่ว่า? มีปัจจัยใดบ้างที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกได้ในระยะยาว ซึ่งอาจทำให้เจ็บป่วยง่ายกว่าเพื่อนๆ มาเรียนรู้ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยในช่วง 3 ปีแรกของชีวิตกันเถอะ
1. การผ่าคลอด
โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่คลอดเองด้วยวิธีธรรมชาติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก แต่อย่างไรก็ตามอาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้คุณแม่จำเป็นต้องผ่าคลอด เนื่องด้วยคุณแม่อาจมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องผ่าคลอด หรืออาจเพราะด้วยความประสงค์ของคุณแม่เองที่ต้องการฤกษ์คลอดที่แน่นอน
ซึ่งคุณแม่ทราบไหมคะ การผ่าคลอดอาจส่งผลต่อภูมิต้านทานตั้งต้นของลูกน้อยเพราะเด็กอาจไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติก) ผ่านทางช่องคลอดของแม่ จึงมีโอกาสเกิดการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ขึ้น เด็กผ่าคลอดเลยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ เช่น มีภูมิต้านทานที่อ่อนแอเพิ่มขึ้นถึง 46% เสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น 23% และเสี่ยงต่อการเกิดโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังเพิ่มขึ้น 20% อีกทั้งมีโอกาสติดเชื้อทั้งในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารมากขึ้นเมื่อเทียบกับเด็กที่คลอดธรรมชาติด้วย และการคืนสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ให้มีความหลากหลายใกล้เคียงกับที่พบในเด็กคลอดธรรมชาติอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี
2. การติดเชื้อที่พบได้บ่อย
ในช่วง 5 ปีแรกของลูกน้อย พบว่ามีโอกาสติดเชื้อที่พบได้บ่อย เช่น การติดเชื้อ RSV และเชื้อโรต้าไวรัส โดยความเสี่ยงจะมีมากเป็นพิเศษในช่วง 1 ปีแรก จากตารางนี้ คุณแม่จะพบว่าลูกน้อยมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ RSV และเชื้อโรต้าไวรัสได้มากในช่วง 5 ปีแรก
แรกคลอด – 1 ปี | 1-2 ปี | 2-5 ปี | |
ติดเชื้อ RSV | 67.5% | 19.1% | 13.4% |
ติดเชื้อโรต้าไวรัส | 60% | 30% | 10% |
การติดเชื้อไวรัสเหล่านี้ทำให้เด็กมีภาวะเสียสมดุลในลำไส้ เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ติดเชื้อดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลทำให้เด็กมีภูมิต้านทานที่ลดลงได้
3. การใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ
มากกว่า 70% ของเด็กวัยแรกคลอดจนถึง 2 ปีมีความเสี่ยงและจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 1 คอร์สการรักษา เพราะการติดเชื้อโดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ลูกน้อยมีความจำเป็นต้องได้รับแนวทางการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ซึ่งตัวยาจะไปทำลายทั้งเชื้อก่อโรคและจุลินทรีย์สุขภาพที่ดีที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของลูกน้อย ทำให้ลูกน้อยเกิดภาวะเสียสมดุลในลำไส้ และส่งผลทำให้เด็กมีภูมิต้านทานที่ลดลงได้
4. การรับประทานอาหารตามวัยที่ไม่เหมาะสม
เมื่อลูกน้อยเข้าสู่อายุ 6 เดือน อาจได้เริ่มรับประทานอาหารตามวัย การที่ลูกน้อยได้รับอาหารตามวัยที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูงมีใยอาหารน้อย อาจทำให้สภาวะในลำไส้ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติก เพราะฉะนั้นการขาดสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้ไป ก็ส่งผลทำให้เกิดการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้
แต่อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ! คุณแม่สามารถเร่งคืนภูมิต้านทานและปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ให้แก่ลูกน้อยได้ ด้วยการให้โภชนาการที่ดีที่สุดนั่นก็คือ “นมแม่” ซึ่งมีซินไบโอติกที่ทำงานร่วมกันระหว่างจุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติก) และอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ (พรีไบโอติก) ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ลูกน้อยแต่ในกรณีที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่อาจปรึกษาแพทย์เรื่องโภชนาการลูกน้อยได้เช่นกัน
References:
1. Arboleya et al. Ann Nutr Metab 2018;73(suppl 3):17-23.
2. Sevelsted et al. Pediatrics 2015;135(1):e92-e98.
3. Miller et al. PLoS Med 2020;17(11): e1003429.
4. Roswall et al. Cell Host & Microbe. 2021;29:765-776.
5. Rha et al. Pediatrics. 2020;146(1):e20193611.
6. Aliabadi et al. Lancer Glob Health. 2019;7:e893-e903.
7. Harding et al. BMC Microbiol. 2020;20:140.
8. Sohail et al. Gut Pathog 2021;13:21.
9. Aversa et al. Mayo Clin Proc. 2021;96(1):66-77.
10. Reese et al. eLife. 2018;7:e35987.
11. Brown et al. Nutrients. 2012;4(8):1095-1119.
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง