นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

8 พฤติกรรมที่ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกน้อย

ความรู้สึกรักใคร่ผูกพันระหว่างลูกกับพ่อแม่ เป็นกระบวนการความผูกพันทางจิตของทั้งสองฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกัน ซึ่งกระบวนการนี้้ต้องอาศัยเวลาแบบค่อยเป็นค่อยไป จะไม่เกิดขึ้นทันทีในระยะเวลาสั้นๆ

บทความนี้จึงมีเคล็ดลับ 8 พฤติกรรมที่ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกน้อยให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

1. การสัมผัส

คือ สัมผัสของคุณแม่ที่มีต่อทารกแรกคลอดทันที เริ่มต้นด้วยการสำรวจร่างกายทารก โดยการสัมผัสเบาๆ ตามลำตัว และอุ้มทารกไว้ในวงแขนแนบกับลำตัว การสัมผัสที่คุณแม่ใช้เพื่อปลอบโยนทารกภายหลังการสัมผัสครั้งแรก ได้แก่ การลูบไล้ การอุ้มแนบอก เป็นต้น

2. การประสานสายตา

เมื่อคุณแม่และลูกน้อยสบตากัน คุณแม่จะเกิดความรู้สึกผูกพันกับลูกมากยิ่งขึ้น คุณแม่ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมพยายามอุ้มทารกให้หันหน้าในท่าเผชิญหน้ากัน เพื่อให้สามารถประสานสายตากับทารกได้ดีขึ้น ซึ่งการประสานสายตาเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของลูกน้อยเป็นอย่างมาก

3. การใช้เสียง

คุณแม่และลูกจะมีการตอบสนองต่อเสียงของกันและกัน โดยเกิดขึ้นทันทีเมื่อแรกคลอด คุณแม่จะมีพฤติกรรม เฝ้ารอฟังเสียงร้องไห้ครั้งแรกเพื่อรับรู้ภาวะสุขภาพลูกน้อย และเสียงพูดของคุณแม่มีผลทำให้ลูกสงบลง ลดการเคลื่อนไหวและผ่อนคลาย

4. การรับกลิ่น

คุณแม่และลูกจะมีพฤติกรรมตอบสนองต่อกลิ่นของกันและกัน ลูกสามารถเรียนรู้กลิ่นของคุณแม่อย่างรวดเร็ว โดยสามารถแยกแยะกลิ่นและหันเข้าหากลิ่นน้ำนมของคุณแม่ตนเองได้ใน 6 - 10 วันหลังคลอด

5. การให้ความอบอุ่น

ร่างกายของคุณแม่เป็นแหล่งให้ความอบอุ่นแก่ลูกน้อยได้เป็นอย่างดี เมื่อได้รับไออุ่นจากคุณแม่ ลูกจะเกิดการผ่อนคลายทั้งทางร่างกายและจิตใจ

6. การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นจังหวะ ตามเสียงพูด

การเคลื่อนไหวร่างกายของลูกที่เป็นจังหวะ เช่น การขยับแขนขา ยกศีรษะ กลอกตา เกิดจากการตอบสนองต่อเสียงสูงต่ำของคุณแม่หรือคุณพ่อ การเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นจังหวะจะช่วยให้คุณแม่มีความผูกพันแน่นแฟ้นกับลูกน้อยมากยิ่งขึ้น

7. จังหวะทางชีวภาพ

เมื่อลูกตื่นตัวหรือร้องไห้ ถ้าคุณแม่อุ้มลูกน้อยไว้แนบอก เสียงการเต้นของหัวใจของคุณแม่รวมถึงความอบอุ่นจากอ้อมกอด จะทำให้เด็กรับรู้ความรู้สึกมั่นคงและช่วยปลอบให้หยุดร้องไห้ได้

8. การยิ้ม

คุณแม่จะมีความสุขเมื่อเห็นยิ้ม แต่การยิ้มของลูกน้อยจะเป็นการตอบสนองของปฏิกิริยาสะท้อน  เป็นการยิ้มที่เกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง มักเกิดขึ้นในขณะที่ลูกหลับสนิท แต่เมื่ออายุ 8 - 12 สัปดาห์ เด็กจะยิ้มอย่างมีความหมายตามการตอบสนองทางสังคมและอารมณ์

การที่คุณแม่ปฏิบัติให้ครบทั้ง 8 พฤติกรรมนี้ในช่วงขวบปีแรก จะยิ่งสร้างความใกล้ชิดสนิทสนมและมีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อยได้เร็วมากขึ้น ก่อเกิดเป็นความรักและความผูกพันระหว่างคุณแม่กับลูกได้อย่างแน่นแฟ้น แล้วยังส่งผลทำให้คุณแม่ประสบความสำเร็จในการให้นมแก่ลูกน้อยผ่านเต้ามากยิ่งขึ้นด้วย 

เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์

การเตรียมตัวและสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์

การหมั่นดูแลสุขภาพช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้อย่างไร การเตรียมร่างกายของคุณให้พร้อมสำหรับการมีลูกนั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอย่างที่คิด เพียงแค่ดูแลตัวเองและเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการให้กำเนิดและการเติบโตของชีวิตน้อยๆ ส่วนคู่รักของคุณ

แรงงานและการตั้งครรภ์

วิธีสร้างสติแและความมั่นใจในช่วงการคลอด เมื่อถึงเวลานั้นคุณแม่อาจมีคำถามนับล้านข้อเกี่ยวกับระยะต่างๆ ของการคลอด ว่าจะต้องทำอย่างไรและจะเกิดขึ้นในตอนคลอดบ้าง

บทความที่เกี่ยวข้อง

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x