เด็กเล็ก
      breastfeeding (how-to-eat)0506cover
      breastfeeding (how-to-eat)0506cover

      ทานอย่างไรเพื่อส่งต่อคุณค่าน้ำนมจากแม่สู่ลูก

      สมุนไพรบางชนิดมีส่วนประกอบที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการหลั่งของน้ำนมแม่ และยังเพิ่มคุณภาพน้ำนมแม่อีกด้วย

       

      breastfeeding (how-to-eat)0501-banana-blossom

      หัวปลี

      อุดมด้วยแคลเซียม (มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า) โปรตีน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ช่วยแก้โรคกระเพาะอาหาร ลำไส้ บำรุงเลือด เพิ่มน้ำนม

      อาหารแนะนำ : แกงเลียงหัวปลี ยำหัวปลีกุ้งสด ทอดมันหัวปลี

      breastfeeding (how-to-eat)0502-chives

      กุยช่าย

      มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต เบต้าแคโรทีน วิตามินซี ช่วยขับน้ำนม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม

      อาหารแนะนำ : นำส่วนดอกไม้มาผัดกับ เนื้อสัตว์ หรือนำใบมากินสดแกล้มกับอาหาร อื่นๆ คือ ใส่ผัดไทย

       

      breastfeeding (how-to-eat)0503-ginger

      ขิง

      มีโปรตีน ไขมัน แคลเซียม วิตามินเอ บี1 บี2 คาร์โบไฮเดรต ขับลม แก้อาเจียน ขับเหงื่อ เพิ่มการไหลเวียนเลือด ทำให้น้ำนมไหลได้ดี ลดอาการอาเจียน และเชื่อว่าเมื่อคุณแม่กินเข้าไป สรรพคุณที่ดีของขิงจะผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูก ทำให้ลูกไม่ปวดท้อง

      อาหารแนะนำ : ยำปลาทูใส่ขิง ปลาผัดขิง ไก่ผัดขิง มันต้มน้ำขิง และโจ๊กใส่ขิง

      0504-basil-how-to-eat-breastfeeding.png

      ใบแมงลัก

      มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินบี และวิตามินซี ช่วยบำรุงเลือด เสริมสร้างกระดูกและฟัน

      อาหารแนะนำ : ใส่แกงเลียง กินสดแกล้มกับขนมจีน หรือใส่แกงป่าต่างๆ

       

      breastfeeding (how-to-eat)0505-basil

      ใบกะเพรา

      มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส เส้นใยอาหารสูง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ หวัด ถ้าลูกได้รับจากนมแม่ ก็จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้ด้วย

      อาหารแนะนำ : แกงเลียงใส่ใบกะเพรา ผัดกะเพรา

       

      breastfeeding (how-to-eat)06-papaya

      มะละกอ

      มีวิตามิน เอ บี ซี และใยอาหาร ซึ่งช่วยบำรุงสายตา เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยให้ระบบขับถ่ายดี

      อาหารแนะนำ : มะละกอสุก หรือแกงส้ม

       

      breastfeeding (how-to-eat)07-pumpkin

      ฟักทอง

      มีทั้งวิตามิน เอ บี ซี ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน ทำให้ผิวพรรณสดใส

      อาหารแนะนำ : ฟักทองผัดไข่ แกงเลียง ฟักทองนึ่ง แกงบวดฟักทอง ไข่เจียวฟักทอง

      นอกจากสมุนไพรข้างต้นแล้วคุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างหลากหลาย และคุณแม่หลังคลอดควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ เพราะขณะที่แม่ให้นม ร่างกายจะสูญเสียน้ำถึงวันละ 2 ลิตร (ประมาณ 2 ขวดลิตร) จึงควรดื่มน้ำเพื่อชดเชยให้เพียงพอ

      เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะในน้ำนมแม่มี ซินไบโอติก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับซินไบโอติก) อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกรัก ดังนั้นควรให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอและนานที่สุด

       

      แม่ให้นม.. ทานแค่ไหนใน 1 วัน

      ปริมาณอาหารที่ทานมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของน้ำนม คุณแม่จึงจำเป็นต้องเลือกสรร และดูแลการรับประทานเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกได้รับภูมิต้านทาน และสารอาหารเพื่อการพัฒนาสมองอย่างเต็มที่

      ในแต่ละวันของคุณแม่ในช่วงให้นมบุตร คุณแม่จำเป็นต้องได้รับพลังงานมากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้ให้ลูกกินนม ซึ่งปริมาณพลังงานจากอาหารที่คุณแม่ต้องได้รับเพิ่มคือ ประมาณวันละ 500 กิโลแคลอรี่ ซึ่งคุณแม่สามารถทานอาหารในแต่ละกลุ่มในปริมาณที่แนะนำนี้นะคะ

      ●       ข้าวและตัวเลือกอาหารประเภทแป้งอื่นๆ 10 ส่วน

      ●       ผลไม้ 5 ส่วน

      ●       ผัก รับประทานได้เท่าที่ต้องการ

      ●       เนื้อสัตว์ 7 ส่วน

      breastfeeding (how-to-eat)0507

      วิธีการเลือกรับประทานเพื่อสุขภาพ

      ●       กินอาหารคละกันจากทุกกลุ่มอาหารตามจำนวนและขนาดบริโภคที่แนะนำ

      ●       กินมื้อหลักปกติ 3 มื้อและอาหารว่างระหว่างวันเล็กน้อย การกินอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยครั้ง จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวันค่ะ

      ●       กินอาหารสดและมีคุณค่าจำกัดปริมาณอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปและถนอมอาหาร เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีโซเดียมและสารกันบูดในปริมาณสูงนะคะ

      ●       ในแต่ละวัน คุณแม่ควรกินธัญพืชไม่ขัดสีอย่างน้อย 2-3 ส่วน

      ●       กินผักและผลไม้สดแต่ละชนิดจำนวน 2-3 ส่วน แนะนำให้กินผักดิบหรือไม่สุกมากได้

      ●       กินนมไขมันต่ำ และผลิตภัณฑ์จากนมจำนวน 1-2 ส่วน

      ●       ดื่มน้ำประมาณวันละ 8-10 แก้ว โดยเฉพาะน้ำสะอาด หรือตัวเลือกเครื่องดื่มประเภทอื่น ได้แก่ นมไขมันต่ำ และน้ำผลไม้สด

      ●       กินปลาสัปดาห์ละประมาณ 2-3 ครั้ง โดยเฉพาะปลาที่มีไขมันสูง เช่น แซลมอน ทูน่า และแมคเคอเรล 

      เนื่องจากปลาประเภทนี้เป็นแหล่งอาหารที่มีกรดดีเอชเอค่อนข้างสูง

      ในการทำอาหาร ควรใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันมะกอก แต่แนะนำให้จำกัดปริมาณไขมันด้วยการใช้วิธีการทำอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า ซึ่งใช้น้ำมันน้อยหรือไม่ใช้เลย เช่น นึ่ง ต้ม หรืออบ นะคะ

       

      ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

      บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง