นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

พัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็ก

พัฒนาด้านการพูดและภาษาของลูก

พบกับคำถามและคำตอบสำหรับความรู้เพื่อการพัฒนาทางด้านการพูด การฟังและภาษาของลูกน้อย

Q: เท่าที่อ่านจากหนังสือบางเล่ม เขาบอกว่าการให้ลูกทานอาหาร จะช่วยฝึกพัฒนาการด้านการพูดได้ด้วย จริงหรือไม่ และเป็นอย่างไรคะ

A: จริงค่ะ เพราะกล้ามเนื้อที่ใช้ทานอาหารและพูดเป็นกล้ามเนื้อเดียวกัน ตอนที่ลูกเรียนรู้การทานอาหารอ่อน เขาก็จะเริ่มฝึกการเคี้ยวไปด้วยการใช้ลิ้นดุนอาหารไปยังเหงือกเพื่อบดอาหารให้ละเอียด เมื่อเริ่มโตขึ้น ลูกจะเริ่มเรียนรู้การใช้งานของลิ้นและริมฝีปากร่วมกัน โดยเริ่มใช้ลิ้นผลักและดันอาหารไปด้านหน้าเพื่อให้ออกจากปาก 

จากนั้น พัฒนาการการใช้ปลายลิ้นเริ่มมีมากขึ้นเมื่อลูกเริ่มเคี้ยวเป็น ซึ่งนี่เป็นส่วนสำคัญในพัฒนาการด้านการพูด เพราะเสียงที่เปล่งออกมาก็เกิดจากการใช้ปลายลิ้นทั้งนั้น เช่น ตัว ท.ทหาร และ ด.เด็ก เมื่อลูกรู้จักควบคุมการใช้ลิ้น ริมฝีปาก็จะถูกใช้ให้เปิดกว้างเพื่อรับอาหารจากช้อนเข้าปาก และเริ่มเรียนรู้วิธีการกลืนในช่วงนั้น อาหารประเภทซุปข้นหรืออาหารที่มีเนื้อสัมผัสจะส่งให้เกิดปฎิกิริยาตอบสนองต่อการเคี้ยว ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของพัฒนาการทางการพูด ดังนั้น การให้อาหารลูกน้อยถือเป็นการบริหารการใช้ริมฝีปาก ขากรรไกรและลิ้น เป็นการเตรียมตัวเบื้องต้นสำหรับศิลปะในการออกเสียงในอนาคต

 

Q: เริ่มให้ลูกทานอาหารอ่อนตอนช่วง 4-6 เดือน จะช้าไปหรือมีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาของลูกไหมคะ

A: การให้อาหารเสริมตามวัยควรเริ่มเมื่อลูกอายุได้ 6 เดือนค่ะ แต่เด็กแต่ละคนก็มีความต้องการช้าเร็วต่างกันไป การให้อาหารเสริมตามวัยหลังจาก 6 เดือน ไม่ได้มีผลต่อพัฒนาการด้านการใช้ภาษาของลูกโดยตรงเท่าไหร่นัก แต่ถ้าลูกเรียนรู้การเคี้ยวช้า หรือยังคงดูดนมจากขวดอยู่ ลูกอาจจะมีปัญหาเรื่องการออกเสียงในตอนโตได้ อาหารเหลวสามารถช่วยพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อริมฝีปากและลิ้นสำหรับการพูดค่ะ เช่นเดียวกันกับอาหารอ่อนจะช่วยส่งเสริมได้มากกว่าอาหารข้นเพราะจะมีส่วนช่วยในการฝึกเคี้ยวมากกว่า หากยังให้ลูกทานซุปข้น อาจทำให้ลูกคายอาหารออกมาได้ และเรียนรู้การเคี้ยวได้ช้าลง หลายๆ เสียง ไม่สามารถพัฒนาได้ในเวลาเดียวกัน บางเสียงอาจออกเสียงได้ยากกว่าเสียงอื่นๆ และจะพัฒนาขึ้นเมื่อลูกโตกว่านี้ค่ะ

 

Q: ทำอย่างไรถึงจะทำให้ลูกรู้สึกว่าเวลาทานอาหารเป็นช่วงเวลาที่น่าสนุก

A: การให้อาหารเสริมตามวัยแก่ลูก สามารถเป็นได้ทั้งช่วงเวลาสนุกและช่วงเวลาของความวุ่นวายค่ะ ความวุ่นวายคือ ทั้งคุณแม่และคุณพ่อจะรู้สึกกังวลว่าควรจะให้อาหารมากน้อยแค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของลูก รวมทั้งการเตรียมอาหารให้ลูก และการบังคับให้ลูกทาน แต่ความสนุกก็คือ คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ช่วงเวลาทานอาหารเป็นช่วงเวลาที่คุณและลูกได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา ได้เล่น ได้หลอกล่อ ได้แลกเปลี่ยน ได้เรียนรู้และสอนการใช้ภาษาให้กับลูก 

ช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ลูกได้ฝึกบริหารริมฝีปากและการควบคุมการใช้ลิ้น รู้จักการดูดกลืนอาหาร การเคี้ยว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการฝึกพูดในช่วงต่อไป คุณแม่และคุณพ่อควรใช้เวลาในการให้อาหารเสริมตามวัยของลูกเป็นโอกาสที่จะได้สื่อสารกับลูก ผ่านการตั้งชื่ออาหารต่างๆ ให้เขา หรือสอนลูกให้เคี้ยวและกลืนเป็น จำไว้เสมอว่า นี่คือการเริ่มต้นของพัฒนาการการพูดค่ะ

 

Q: คุณพ่อคุณแม่ควรจะมีวิธีพูดกับลูกอย่างไร เพื่อจะช่วยฝึกให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี

A: คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี คือ 

- พูดเสียงดัง ฟังชัด

- นั่งใกล้ๆ กับลูก

- พยายามสบตากันให้มากที่สุด

- ส่งเสริมและให้กำลังใจด้วยการพูดและแสดงสีหน้าท่าทางที่มากกว่าปกติให้ลูกได้ฟัง

- ออกเสียงให้ชัดเจน และถูกต้องอย่างช้าๆ 

- ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลและอ่อนหวาน

- ใช้ประโยคง่ายๆ พูดกับลูก เช่น ลูกช่วยเอาแก้วให้คุณพ่อหน่อยได้ไหมจ๊ะ

- หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาแบบเด็กๆ เมื่อลูกอายุมากกว่า 12 เดือน

- เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ให้ความสนใจและใส่ใจในสิ่งที่ลูกพูด

- เป็นนักสื่อสารที่ดีและมีความตื่นตัวกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเสมอ

- ให้คำชมแก่พวกเขา

- โต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติและเป็นประโยคที่สมบูรณ์

- สำคัญที่สุดคือพยายามทำทุกอย่างดังกล่าวให้เป็นเรื่องสนุก

 

Q: ปัจจุบัน คุณแม่คุณพ่อส่วนใหญ่จะรู้สึกระมัดระวังและค่อนข้างเปรียบเทียบพัฒนาการของลูกตัวเองและลูกคนอื่นในวัยเดียวกันมากขึ้น แต่จริงๆ แล้ว พวกเขาควรกังวลเฉพาะเมื่อลูกของเขามีพัฒนาการทางภาษาช้ามากกว่าจะไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่นใช่หรือไม่คะ

 A: โดยทั่วไปแล้ว การพูด การออกเสียง และการใช้ภาษาจะมีพัฒนาการตามรูปแบบของมัน แม้ว่าจะมีมาตรฐานว่าอายุเท่านี้ ควรมีพัฒนาการได้เท่านี้ ซึ่งจริงๆ แล้วในแต่ละช่วงพัฒนาการก็มีอะไรหลายๆ อย่างต่างกันไป แม้ว่าเด็กที่ยังไม่สามารถพูดได้จนอายุ 2 ปี จะเรียนรู้ภาษาในเวลาไล่เลี่ยกัน และต้องใช้เวลาในการลำดับการเรียนรู้มากกว่าเดิม แต่จำไว้ว่า พัฒนาการต่างๆ นั้น มีหลายๆ อย่างให้เรียนรู้ และเด็กแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันในการพัฒนาตามความรู้สึกของแต่ละคนค่ะ

ภาษาคือ ความเข้าใจและการใช้คำ ในความเป็นจริง ภาษาของเด็กนั้นเรียนรู้ตั้งแต่เกิด โดยการฟัง การตอบสนองต่อครอบครัว และทุกอย่างจะพัฒนาเมื่อถึงเวลาของมัน เด็กบางคนอาจพัฒนาได้เร็วกว่าคนอื่น แต่บางคนอาจช้ากว่าคนอื่นก็ได้ ลองมาดูตัวอย่างว่าเด็กวัยใด ควรมีพัฒนาการอย่างไรบ้างค่ะ

 

0-12 เดือน

- พึมพำ (มัม ป้อ หม่ำ)

- เลียนแบบเสียงสิ่งต่างๆ (บรื๊นนน ซึ่งเป็นเสียงรถยนต์)

- ทำคลื่นหรือปรบมือหากมีคนเรียกร้อง

 

12-18 เดือน 

- เริ่มชี้เรียกชื่อสิ่งของ

- เริ่มพูดคำเดี่ยวๆ เช่น แมว นม

 

18-24 เดือน

- พูดหลายๆ คำ

- ผสมคำเข้าด้วยกัน เช่น หิวนม

- ฟังเรื่องเล่าสั้นๆ จากพ่อแม่

- เข้าใจคำถามง่ายๆ เช่น กล้วยอยู่ไหน

 

2-3 ปี

- เริ่มใช้ 3-5 คำ ต่อประโยค

- บอกคุณว่าเขากำลังทำอะไรอยู่

- ถามคำถาม

- เข้าใจความหมายต่างๆของคำ เช่น ใหญ่ เล็ก ใน นอก ใต้

 

Q: แล้วเมื่อไหร่คุณแม่คุณพ่อจึงควรกังวลใจว่าลูกเริ่มมีพัฒนาการทางการใช้ภาษาที่ช้ากว่าปกติคะ

A: เด็กบางคน จะมีพัฒนาการต่างๆ ที่ช้ากว่าปกติ ถ้าลูกใช้เวลาในการเรียนรู้การคลาน การเดิน การกินอาหารเหลวช้า ก็อาจเป็นไปได้ว่าพัฒนาการทางการพูดจะช้าไปด้วย แต่ถ้าลูกเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่บอก และสามารถทำตามคำแนะนำคือลูกสามารถชี้บอกได้ว่าต้องการอะไร แสดงว่าลูกอาจจะมีพัฒนาการทางการพูดช้าและมีความเป็นไปได้ที่จะมีพัฒนาการอย่างสมบูรณ์เมื่อโตขึ้นค่ะ

แต่ในทางกลับกัน หากเด็กไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่พ่อแม่ขอให้ทำ และไม่สามารถเลียนแบบหรือจดจำเสียงต่างๆ ได้เลย และเวลาได้ยินเสียงดังๆ ลูกก็ไม่รู้สึกตกใจ คุณแม่ควรพาลูกไปรับการตรวจเช็คหูและประสาทรับฟัง ปัญหาการได้ยิน ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการการพูดค่ะ

เด็กหลายคนควรจะสามารถเข้าใจบทสนทนาจากคนแปลกหน้าได้เมื่อพวกเขาอายุ 3-4 ปีขึ้นไป หากลูกของคนมีปัญหาในเรื่องนี้ พยายามปรึกษาคุณหมอหรือที่ปรึกษาเกี่ยวกับการพูดและฟังสำหรับเด็กแต่เนิ่นๆ เพื่อช่วยพัฒนาต่อไปค่ะ

 

Q: มีกิจกรรมหรือการออกกำลังกายแบบใดบ้างที่สามารถช่วยให้ลูกพูดหรือเปล่งเสียงได้อย่างชัดเจนบ้างคะ

A: หากลูกพูดไม่ชัด ลองให้ลูกทำท่าทางเป่าของ ดูดของหรือเคี้ยวของ เพราะจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อรอบๆ ปาก เพื่อช่วยให้เขาสามารถพูดได้มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่เองก็ควรพยายามส่งเสริมให้ลูกเล่นเป่าลูกโป่ง ฟองอากาศ หรือเศษกระดาษทิชชู่ นอกจากนี้ อาจจะช่วยฝึกให้ลูกดูดน้ำจากหลอด และให้เค้าลองเคี้ยวอาหารเหลวดู คุณแม่คุณพ่อควรระลึกไว้เสมอว่า ควรจะมองหาผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาด้านการพูดและฟัง เพื่อมั่นใจได้ว่าลูกๆ จะได้รับการรักษาและฝึกฝนหากเขามีปัญหาในเรื่องพัฒนาการทางการพูดและการใช้ภาษาจริงๆ ค่ะ


แนะนำเพิ่มเติม

คุณพ่อและคุณแม่ควรพูดหรือร้องเพลงให้ลูกฟังขณะอาบน้ำ แต่งตัว หรือป้อนอาหาร การได้ใช้น้ำเสียงที่หลากหลายพร้อมแสดงออกทางสีหน้าและท่าทาง จะช่วยพัฒนาพื้นฐานการพูดของลูกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ คุณแม่และคุณพ่อสามารถช่วยส่งเสริมการฝึกฝนโดยการมอบรางวัลเมื่อลูกพูดคำใหม่ๆ ได้ โดยการให้คำชม อ้อมกอด หรือจูบซักฟอดค่ะ


Hi-family-resilience-handbook-ipad

รับฟรี! คู่มือออนไลน์ “เลี้ยงลูกให้มีภูมิต้านทาน”

เพียงสมัครสมาชิกไฮ-แฟมิลี่คลับ เราพร้อมเคียงข้างคุณแม่ทุกช่วงเวลา

  • รับฟรี! คู่มือออนไลน์ “เลี้ยงลูกให้มีภูมิต้านทาน” โดยคุณหมอเจ้าของเพจ “ตามใจนักจิตวิทยา”
  • บริการให้คำปรึกษาโดยทีมพยาบาล นักโภชนาการ และคุณแม่
  • ข้อมูลสุขภาพที่เหมาะกับคุณ ผ่าน SMS
carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x