นมแม่ดีที่สุด
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก
เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง
เลือกอ่านตามหัวข้อที่ต้องการ
สาเหตุของการหายใจไม่อิ่มในเวลากลางคืน
หายใจไม่อิ่มตอนกลางคืน อันตรายไหม?
วิธีแก้หายใจไม่อิ่มตอนกลางคืนแบบง่าย ๆ
อาการหายใจไม่อิ่มในเวลากลางคืนเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
-โรคหัวใจ หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลวทำให้เลือดคั่งในปอด เมื่อนอนราบ ของเหลวจะกระจายตัวมากขึ้นส่งผลให้หายใจลำบาก
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคหืด ซึ่งอาการมักแย่ลงในเวลากลางคืน
-โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ทำให้หายใจลำบากตลอดเวลาและอาจจะรุนแรงเมื่อนอนราบ
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทางเดินหายใจอุดตันชั่วคราวระหว่างนอนหลับ
- การนอนในท่าที่ไม่เหมาะสม การนอนราบทำให้อวัยวะในช่องท้องกดทับกะบังลม จำกัดการขยายตัวของปอด
- กรดไหลย้อน กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและหายใจลำบาก จุกแน่น
- ภาวะวิตกกังวล ความเครียดและวิตกกังวล อาจทำให้เกิดอาการหายใจเร็วเกินไปหรือหายใจไม่อิ่ม
- ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ทำให้มีแรงกดทับต่อปอดมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนอนราบ
- การใช้ยาบางชนิด ยาบางประเภทอาจส่งผลต่อการหายใจโดยเฉพาะเมื่อรับประทานก่อนนอน
การหายใจไม่อิ่มตอนกลางคืนเป็นสัญญาณเตือนของปัญหา
สุขภาพที่ต้องใส่ใจ ในบางกรณีอาจเป็นเพียงอาการชั่วคราวจาก
ความเครียดหรือท่านอนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสามารถแก้ไขได้ง่าย
แต่ในกรณีที่รุนแรง อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจ โรคปอด
หรือระบบอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการรักษา หากปล่อยไว้อาจเป็น
อันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้การนอนหลับไม่เพียงพอเนื่องจากหายใจ
ไม่อิ่มส่งผลต่อพลังงาน สมาธิ และสุขภาพโดยรวม
ส่งผลกระทบในระยะยาว และหากเป็นอาการของ
โรคที่ไม่ได้รับการรักษา ก็จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
-ในกรณีที่มีอาการหายใจไม่อิ่มที่ไม่รุนแรง มีวิธีแก้หรือบรรเทา
อาการที่สามารถทำง่าย ๆ ที่บ้านได้ด้วยตัวเอง เช่น
ปรับท่านอน เป็นท่านอนศรีษะสูงใช้หมอนหนุน 2-3 ใบ
หรือยกหัวเตียงขึ้น 15-20 เซนติเมตร หรือนอนตะแคงซ้าย
เพื่อช่วยลดแรงกดทับต่อปอดและหัวใจ
-ปรับสภาพแวดล้อม จัดห้องนอนให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก
ใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อลดสารก่อภูมิแพ้และฝุ่นมลพิษ
หรือควบคุมความชื้นให้เหมาะสมอยู่เสมอ
-ฝึกการหายใจที่ถูกต้อง ให้หายใจโดยใช้กระบังลม
นั่นคือหายใจเข้าให้ท้องป่อง หายใจออกให้ท้องแฟบ
และฝึกหายใจลึก ๆ ช้า ๆ ก่อนนอน หายใจเข้าช้า ๆ นับ 1-4
แล้วหายใจออกช้า ๆ นับ 1-6
-งดอาหารมื้อหนักอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนนอน
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนแอลกอฮอล์ ลดอาหารรสเผ็ด มัน
ทอด เพราะจะกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนได้
ผ่อนคลายความเครียด โดยการทำสมาธิหรือโยคะเบา ๆ ก่อนนอน
เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบต่อเนื่อง
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อป้องกันอาการหายใจไม่อิ่ม ในระยะยาว
ได้แก่
1. ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน
นาน 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ ฝึกการหายใจและเ
พิ่มความจุปอดด้วยการออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิก
3. ไม่สูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำลายถุงลมในปอดและทำให้ทางเดิน
หายใจอักเสบได้
4. หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด หรือภูมิแพ้ โรคหัวใจ
หรือความดันโลหิตสูง ควรดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์
อย่างเคร่งครัด
5. ลดความเครียด พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส และนอนหลับ
ให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมง
ควรปรึกษาแพทย์ทันทีหากพบอาการต่อไปนี้
- อาการหายใจลำบากรุนแรงเฉียบพลัน โดยเฉพาะหากมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย
- ตื่นมากลางดึกด้วยอาการหายใจไม่อิ่มบ่อยครั้ง หลาย ๆ คืนติดกัน
- มีเสียงหวีดหรือเสียงผิดปกติขณะหายใจ
- อาการแย่ลงเมื่อนอนราบ และดีขึ้นเมื่อลุกขึ้นนั่ง
- มีอาการบวมที่ขาหรือข้อเท้า - อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลว
- มีไข้ร่วมกับอาการหายใจลำบาก
- อาการไม่ดีขึ้นแม้ปรับเปลี่ยนท่านอนหรือสภาพแวดล้อม
- ป่วยเป็นโรคหัวใจหรือปอดอยู่แล้วและมีอาการแย่ลง
หายใจไม่ออกตอนกลางคืนเกิดจากอะไร
อาการหายใจไม่ออกหรือรู้สึกอึดอัดตอนกลางคืน เกิดจากสาเหตุ
ดังนี้
- เป็นโรคหอบหืดที่มีอาการกำเริบในเวลากลางคืน
- ภาวะหัวใจล้มเหลวทำให้ของเหลวคั่งในปอดเมื่อนอนราบ
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ทำให้ทางเดินหายใจอุดตันชั่วคราว
- ภาวะวิตกกังวลที่ทำให้หายใจเร็วเกินไปและรู้สึกขาดอากาศ
- กรดไหลย้อนที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในหลอดอาหาร
และหลอดลม
ความรู้สึกหายใจไม่เต็มปอดมักมีสาเหตุมาจาก
- ภาวะเครียดและวิตกกังวลที่ทำให้การหายใจได้ไม่เต็มอิ่มและหายใจถี่
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ทำให้อากาศค้างอยู่ในปอด
- ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ
- ท่านอนที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดการจำกัดการขยายตัวของปอด
- น้ำหนักเกินเกณฑ์ ภาวะอ้วนที่เพิ่มแรงกดทับต่อกะบังลม
- โรคระบบประสาทกล้ามเนื้อที่ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อช่วยหายใจ
การหายใจไม่ทั่วท้องหรือหายใจไม่ใช้กระบังลมอาจเกิดจาก
- การหายใจไม่เต็มอิ่มจากความเครียดหรือวิตกกังวล ทำให้หายใจด้วยหน้าอกแทนที่จะใช้กระบังลม
- ความเคยชินในการหายใจผิดวิธี โดยใช้กล้ามเนื้อทรวงอกส่วนบนมากกว่ากระบังลม (ที่ถูกต้องคือเมื่อหายใจเข้าแล้วท้องต้องป่อง)
- ความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่ทำให้กระบังลมทำงานไม่เต็มที่
- โรคที่ทำให้กระบังลมอ่อนแรงหรือทำงานผิดปกติ
- ความไม่สบายในช่องท้องจากอาหารมื้อหนักหรือเป็นกรดไหลย้อน
- การตั้งครรภ์ที่ทำให้มดลูกดันกระบังลมขึ้น
อ้างอิงจาก
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK499965/
https://samitivejchinatown.com/th/article/health/dyspnea
https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/dyspnea-shortness-of-breathhttps://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/16942-dyspnea
ภาพจาก Freepik
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง