นมแม่ดีที่สุด
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก
เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง
ยิ่งผ่าคลอดหลายครั้ง ก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น แม่บางคนอาจจะเคยผ่าคลอด 2-3 ครั้งโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ แต่ก็อาจไม่ใช่ทุกคน และบ้างก็บอกว่าไม่ควรผ่าคลอดเกิน 2 ครั้ง บ้างก็บอก 3 ครั้ง ซึ่งทั้งหมดควรเป็นไปตามวินิฉัยของแพทย์ผู้ดูแลการคลอดของแม่ แต่ตอนนี้มาทำความเข้าใจก่อนว่าในการผ่าคลอดแต่ละครั้งมีความเสี่ยงในด้านใดบ้าง
การผ่าคลอด เสี่ยงต่อการเกิดพังผืดที่ช่องท้องหลังการผ่าตัดได้ ซึ่งพังผืดอาจดึงรั้งอวัยวะภายในที่อยู่ใกล้เคียงมดลูก เช่น กระเพาะปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้ เมื่อผ่าคลอดครั้งต่อๆ ไป อวัยวะเหล่านีัจึงมีความเสี่ยงได้รับการกระทบกระเทือน หรือบาดเจ็บจากการผ่าตัดได้
นอกจากนั้น การผ่าก็ไม่ได้แค่ผ่าหน้าท้อง แต่ยังผ่านผิวหนังหน้าท้อง ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และชั้นกล้ามเนื้อหน้าท้อง การเลาะพังผืดในช่องท้อง จากนั้นก็กรีดเปิดผนังมดลูก รวมประมาณ 6 ชั้นด้วยกัน
จึงทำให้เกิดแผลที่มดลูก ส่งผลทำให้มดลูกที่ไม่เคยมีร่องรอย เปราะบางมากขึ้น ทำให้การผ่าคลอดครั้งต่อๆไป มีความเสี่ยงมดลูกแตกได้
ดังนั้นการผ่าคลอดสำหรับแม่ทึ่เคยผ่าคลอดแล้ว จึงต้องให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียดก่อน และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อหลีกเลี่ยง หรือลดความเสี่ยงเหล่านี้
ถึงแม้ว่าจะไม่มีจำนวนครั้งที่แน่นอนในการผ่าคลอดซ้ำที่สามารถทำได้อย่างปลอดภัย แต่จากแหล่งข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญต่างลงความเห็นเหมือนกันว่า การผ่าคลอดซ้ำๆหลายครั้ง จะเพิ่มความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนต่างๆไม่ว่าจะเป็น…
แม่ที่เคยผ่าคลอดแล้ว จำเป็นหรือไม่ว่าถ้ามีลูกอีกคนจะต้องผ่าอีก หรือจะสามารถคลอดวิธีอื่นได้ คำตอบก็คือ ควรผ่าคลอดตามเดิม เนื่องจากแผลที่เกิดขึ้นจากการผ่าคลอด จะทำให้มดลูกไม่แข็งแรง มีความยืดหยุ่นน้อยลง และตึงเมื่อถูกยืดออก จึงมีความเสี่ยงที่มดลูกอาจแตกตอนใกล้ๆคลอดหรือตอนเจ็บท้องคลอดเมื่อมีการตั้งท้องครั้งใหม่
ดังนั้นคุณหมอส่วนมากจึงมักแนะนำให้คุณแม่ที่เคยผ่าคลอดมาแล้วรับการผ่าตัดคลอดซ้ำ โดยการผ่าตัดครั้งหลังนี้ไม่จำเป็นต้องรอให้คุณแม่เจ็บท้องก่อน
สำหรับแม่ที่เคยผ่านการผ่าคลอด ระยะเวลาการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปที่ปลอดภัย ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องอายุเกินเกณฑ์การมีลูก หรือไม่มีปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อรอการฟื้นตัวของมดลูกและสุขภาพร่างกายคุณแม่ก่อนจะคลอดครั้งต่อไป ปกติแล้วการตั้งครรภ์ควรเว้นระยะห่างประมาณ 18-24 เดือน
แหล่งข้อมูล:
https://www.phyathai.com/th/article/2680-ผ่าคลอดกี่ครั้งถึงไม่
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/C-section
https://www.parents.com/pregnancy/giving-birth/how-many-c-sections-can-a-woman-have/
https://www.parents.com/pregnancy/giving-birth/how-many-c-sections-can-a-woman-have/
บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง