นมแม่ดีที่สุด

เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล

เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก

เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร? วิธีแก้ที่ถูกต้องและปลอดภัย

เลือกอ่านตามหัวข้อที่ต้องการ

สาเหตุที่ทำให้ลูกหายใจครืดคราด

วิธีสังเกตอาการหายใจผิดปกติในเด็ก

วิธีแก้ลูกหายใจครืดคราด

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก อันตรายไหม?

วิธีดูแลลูกให้ปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นอาการหายใจครืดคราด

อาหารที่อาจกระตุ้นอาการ และแนวทางหลีกเลี่ยง

คำถามที่พบบ่อย

ลูกคัดจมูกควรนอนท่าไหน

ลูกหายใจครืดคราดแบบไหนอันตราย

ทำยังไงให้ลูกหายใจสะดวก

ลูกหายใจครืดคราดนอนท่าไหน

สรุป

อาการหายใจครืดคราดเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงวัยแรกเกิดถึง 1 ปีเนื่องจากระบบทางเดินหายใจยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ พ่อแม่หลายคนอาจกังวลว่าอาการนี้เป็นเรื่องปกติหรือไม่ ควรดูแลอย่างไร และเมื่อไหร่ที่ควรพาลูกไปพบแพทย์บทความนี้จึงรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น พร้อมวิธีดูแลแก้ไขที่ปลอดภัย เพื่อให้พ่อแม่มือใหม่สามารถรับมือกับอาการนี้ได้อย่างมั่นใจ

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกหายใจครืดคราด

  • การอุดตันของจมูก: เด็กเล็กมักมีเสมหะหรือน้ำมูกสะสมในโพรงจมูก ทำให้ต้องออกแรงหายใจมากขึ้นและเกิดเสียงครืดคราด
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ: เช่น หลอดลมหรือคออักเสบ ทำให้หายใจลำบากและมีเสียงผิดปกติ
  • ภูมิแพ้หรือจมูกอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้: ฝุ่น ควัน หรือเกสรดอกไม้อาจทำให้เยื่อบุจมูกบวมและส่งผลให้หายใจมีเสียง
  • หายใจเร็วจากการร้องหรือไข้: เด็กอาจมีเสียงครืดคราดชั่วคราวจากการหายใจเร็วหรือไอต่อเนื่อง
  • โรคหอบหืด: หากเด็กมีปัจจัยเสี่ยงหรือมีประวัติครอบครัว อาการหายใจแรงหรือเสียงหวีดอาจเป็นสัญญาณของหอบหืด

 

วิธีสังเกตอาการหายใจผิดปกติในเด็ก

  • สังเกตลักษณะเสียงหายใจขณะตื่นและหลับ ว่ามีเสียงครืดคราดหรือไม่
  • รูจมูกบานออกมากขณะหายใจ หรือหายใจเร็วผิดปกติ
  • ดูจังหวะการเคลื่อนไหวของหน้าอก ว่ามีการยุบตัวผิดปกติหรือไม่
  • สังเกตอาการขณะกินนม เช่น สำลัก หรือมีเสียงผิดปกติ
  • จามบ่อย หรือจามเสียงดังต่อเนื่อง

 

วิธีแก้ลูกหายใจครืดคราด

  • หากลูกมีอาการหายใจครืดคราดจากไข้หวัด การให้ลูกดื่มนมหรือจิบน้ำจะช่วยชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปจากไข้ ช่วยละลายเสมหะ อีกทั้งยังช่วยให้จมูกไม่แห้ง
  • จัดท่าทางของลูกให้เหมาะสม ควรให้นอนหงายโดยยกศีรษะเล็กน้อย ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกสัมผัส หรืออยู่ใกล้ควันบุหรี่ ควันรถ ละอองสารเคมี ฝุ่นต่างๆ เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น
  • หากจำเป็นใช้ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้แพ้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาหรือตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อช่วยละลายน้ำมูกหรือเสมหะ ทำให้จมูกโล่งขึ้น

 

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก อันตรายไหม?

อาการหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นอาการที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก อาจเกิดจากโพรงจมูกที่แคบของทารก ภาวะอื่น ๆ เช่น แพ้นม หอบหืด เป็นต้น ถ้าลูกทานนมได้ดี นอนหลับสบาย ไม่ร้องกวน ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ เสียงครืดคราดนี้จะลดลงหรือหายไป เมื่อลูกอายุ 2-3 เดือน อย่างไรก็ตามหากยังมีเสียงหายใจครืดคราดต่อเนื่อง หรือมีอาการอื่นร่วม เช่น หายใจแรง เหนื่อยหอบ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 

วิธีดูแลลูกให้ปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นอาการหายใจครืดคราด

การดูแลสภาพแวดล้อมให้สะอาด และปลอดภัยสามารถช่วยลดอาการหายใจครืดคราด ของลูกน้อยได้ เช่น

  • ทำความสะอาดห้องนอน เครื่องนอน ของเล่น ตุ๊กตาต่างๆ เป็นประจำ
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศในห้องนอน
  • รักษาอุณหภูมิห้องให้อบอุ่น ไม่อับชื้น
  • หลีกเลี่ยงสัตว์เลี้ยงในห้องนอนของลูก

 

อาหารที่อาจกระตุ้นอาการ และแนวทางหลีกเลี่ยง

การที่ลูกหายใจครืดคราดอาจเกิดจากการแพ้อาหาร โดยเฉพาะโปรตีนนมวัว ซึ่งพบได้บ่อยในทารก หากลูกมีอาการหายใจมีเสียง ผื่นขึ้น ท้องอืด หรืออาเจียนหลังดื่มนม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจว่ามีภาวะแพ้อาหารหรือไม่ อาหารบางประเภท เช่น ของทอด ของมัน และของหวานจัด อาจกระตุ้นการสร้างเสมหะ ทำให้จมูกอุดตัน และหายใจลำบากมากขึ้น

แนวทางการหลีกเลี่ยง:

  • จดบันทึกอาหารที่ลูกกินแต่ละวัน เพื่อช่วยสังเกตอาการผิดปกติ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นเสมหะหรือเคยสงสัยว่าแพ้
  • หากต้องการเปลี่ยนนมหรือปรับอาหาร ควรปรึกษากุมารแพทย์ก่อนเสมอ การเลือกอาหารที่เหมาะสมช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการครืดคราด และส่งเสริมสุขภาพทางเดินหายใจของลูกได้ในระยะยาว

 

คำถามที่พบบ่อย

 

ลูกคัดจมูกควรนอนท่าไหน

ให้ลูกนอนหงายโดยยกศีรษะเล็กน้อย หรือใช้หมอนรองอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น

 

ลูกหายใจครืดคราดแบบไหนอันตราย

หายใจเร็ว แรง มีเสียงหวีด หน้าอกยุบ ริมฝีปากเขียว หรือไม่กินนม ถ้าหากลูกน้อยมีอาการ เหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

 

ทำยังไงให้ลูกหายใจสะดวก

ควรหลีกเลี่ยงฝุ่น ควัน มลพิษต่างๆ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน สามารถล้างจมูกลูกด้วยน้ำเกลือ เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในห้องเพื่อทำให้อากาศไม่แห้ง

 

ลูกหายใจครืดคราดนอนท่าไหน

ท่านอนหงายยกศีรษะเล็กน้อย หรือท่านอนตะแคงที่ปลอดภัยช่วยให้ลูกหายใจได้ดีขึ้น

 

สรุป

อาการหายใจครืดคราดส่วนใหญ่มักไม่ใช่อาการร้ายแรง แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่างได้ พ่อแม่ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ การดูแลอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ลูกหายใจได้โล่ง และนอนหลับสบายมากขึ้น

อ้างอิงจาก

https://www.synphaet.co.th/

https://www.kasemrad.co.th/

https://www.sikarin.com/

https://www.pobpad.com/

ภาพจาก Freepik

M25-021

carelinepic_resized2

ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง

x