เด็กเล็ก
      M23-151_desktop.jpg
      M23-151_desktop.jpg

      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยบ่อย

      ลูกป่วยบ่อยจนผิดสังเกต เกิดได้หลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อย ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 5 เรื่อง ที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจ เพื่อแก้ปัญหาลูกได้ถูกทาง แต่ก่อนอื่น ควรรู้ก่อน แบบไหนที่เรียกว่าป่วยบ่อย

      เด็กเป็นป่วยบ่อยแค่ไหนต่อปี

      เด็กบางคนจะพบว่าเป็นหวัดบ่อยกว่าคนอื่น เด็กๆ จะเริ่มเป็นหวัดหลังอายุราวๆ 6 เดือน เพราะเป็นช่วงเวลาเมื่อภูมิต้านทานที่ได้รับจากแม่เริ่มลดลงและถึงเวลาที่พวกเขาต้องสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาเอง

      ทารก เด็กวัยหัดเดิน และเด็กก่อนวัยเรียนเป็นหวัดประมาณ8-10 ครั้งต่อปี และในช่วงวัยเรียนจะเป็นหวัดเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 ครั้งต่อปี พอเป็นวัยรุ่นก็เข้าสู่ระดับผู้ใหญ่ที่เป็นหวัดราวๆ 4 ครั้งต่อปี

      นอกจากหวัดแล้ว เด็กก็ยังมีปัญหาท้องร่วงท้องเสีย หรืออาการอาเจียน มักเป็นปีละ 2-3 ครั้ง และเด็กบางคนมักมีไข้สูงร่วมกับหวัดเป็นส่วนใหญ่ หรือมีอาการท้องไส้ปั่นป่วนและมีอาการท้องเสียร่วมกับอาการหวัดด้วย

      5 สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยบ่อยเกินไป

      1.ไม่ได้กินนมแม่

      นมแม่ให้แอนติบอดีและมีซินไบโอติกสารอาหารที่จำเป็นซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานของทารก หากทารกไม่ได้กินนมแม่หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเป็นช่วงที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดี้ต่ำ (physiologic hypogammaglobulinemia)และยังสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่สมบูรณ์ เมื่อมาเจอเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ไม่เคยเจอะเจอกันมาก่อน ก็มีโอกาสทำให้เจ็บป่วยง่ายขึ้น 

      2. ด้านความแข็งแกร่งของภูมิต้านทาน

      การคลอดธรรมชาติ ลูกน้อยจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Probiotic)
      ผ่านทางช่องคลอดของคุณแม่ แต่ทารกที่ผ่าคลอดจะไม่ได้รับจุลินทร์เหล่านี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านภูมิต้านทานได้  จึงมีโอกาสที่ลูกน้อยจะเจ็บป่วยได้มากกว่า เด็กที่คลอดธรรมชาติ

      คุณแม่ควรเร่งคืนภูมิต้านทานและลดโอกาสเจ็บป่วยของลูกน้อยด้วยนมแม่ เพราะในน้ำนมแม่มีซินไบโอติกประกอบด้วยโพรไบโอติกและพรีไบโอติกช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับลูกน้อย 

      3. การคลอดก่อนกำหนด

      เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายในช่วงขวบปีแรก เพราะกลไกการป้องกันการติดเชื้อยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเชื้อจากแม่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าทารกที่คลอดตามกำหนด คุณแม่จึงต้องระมัดระวังในเรื่องความสะอาดให้มากเป็นพิเศษพร้อมทั้งเสริมภูมิต้านทานด้วยนมแม่ ซึ่งน้ำนมแม่มีการทำงานแบบซินไบโอติก (Synbiotic)ช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานที่ดีขึ้น

       

      4. สัมผัสเชื้อโรคบ่อย

      เด็กเล็ก หรือทารกที่พบเจอผู้คนมากหน้าหลายตา สามารถป่วยได้จากการสัมผัสใกล้ชิดได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากคนดูแล หรือการมีพี่น้องที่มีอายุมากกว่าที่ออกไปเล่นข้างนอกบ่อยๆ ทำให้สัมผัสกับเชื้อโรคจากข้างนอกที่เพิ่มขึ้น และทำให้เจ็บป่วยได้บ่อย ดังนั้นพ่อแม่ต้องระวัง ล้างมือผู้ที่เล่นหรือสัมผัสกับลูกน้อยก่อนทุกครั้ง

      5. การบริโภคและการดูแลไม่ถูกสุขอนามัย

      ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารไม่มีประโยชน์เป็นประจำ หรืออาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อม อากาศที่มีมลพิษ ฝุ่นควันเยอะ ควันบุหรี่หรือการอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมอับชื้น หรือมีเชื้อรา ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ และการเจ็บป่วยอื่นๆ ในเด็กได้ทั้งสิ้น ดังนั้น นอกจากต้องระวังด้านอาหาร ให้ลูกได้ทานอาหารมีประโยชน์เป็นประจำ ยังต้องควรล้างมือเด็ก และคนรอบตัวเด็กเสมอ และฆ่าเชื้อขวดนม และภาชนะ ช้อนส้อมให้สะอาดเสมอ

       

      รู้แบบนี้แล้ว คุณแม่ควรให้ความสำคัญในการดูแลเพื่อเสริมภูมิต้านทานที่แข็งแกร่งให้กับลูกน้อยอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงวัย เพื่อให้ห่างไกลจากความเจ็บป่วย ด้วยการเสริม อาหารที่มีประโยชน์ การรับวัคซีนตามวัย การให้ทานนมแม่ซึ่งมีซินไบโอติกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ หรือหากจำเป็นต้องเสริมนมผสม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการเลือกนมได้เหมาะสมกับสุขภาพ และหากลูกมีอาการป่วยบ่อยคุณแม่ควรพาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ วางแผนการดูแลป้องกันการเจ็บป่วยในอนาคตค่ะ  

      Source: 

      https://bit.ly/3PFrxYe

      https://bit.ly/3JKxTl5

      https://bit.ly/3NsFeH6

      ปฏิทินพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละเดือน

      บทความที่เกี่ยวข้อง

      ไฮ-แฟมิลี่ แคร์ไลน์

      บริการให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่คุณแม่กังวลใจ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล นักโภชนาการและคุณแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้าง ตลอด 24 ชั่วโมง