ไม่ช้าค่ะ หากต้องการให้ลูกคลานได้มากขึ้น คุณแม่อาจจะลงมาคลานกับลูก เอาของเล่นมาล่อค่ะ เด็กบางคนที่คุณแม่อุ้มเยอะจะไม่อยากคลาน เด็ก อายุ 1ขวบ ตั้งไข่ เกาะยืนเกาะเดินได้ถือว่าปกติค่ะ
การส่งเสริมพัฒนาการ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีลงไป ให้ทำผ่านทางสัมผัสทั้ง 5 ค่ะ คือ ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และผิวหนังรับสัมผัส การที่คุณแม่อุ้มพาน้องเดินเล่นนั้น ถือว่าดีอยู่แล้ว คุณแม่สามารถที่จะส่งเสริมพัฒนาการของน้อง เช่น เวลาที่พาน้องเดินก็พูดว่า ดูหมาเห่า ดูรถวิ่ง ดูนกบิน ลูกก็จะได้ฟังเสียงของคุณแม่ การอุ้มพาเดินก็จะทำให้เด็กอยู่ในท่าตั้ง เด็กทรงตัวได้ดี และเด็กมองเห็นสิ่งต่างๆ การกอดอุ้มของคุณแม่ ก็จะเป็นการกระตุ้นสัมผัสของเด็ก และในวัยนี้คุณแม่ให้น้องเริ่มทานอาหาร เพื่อให้คุ้นเคยเรื่องรสชาติ ส่วนมือของน้อง ก็ให้หยิบของ นำมาเล่น มาเคาะ ให้เกิดความชำนาญ เพราะเด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นค่ะ
ลูกคุณแม่มีพัฒนาการที่ปกติค่ะ ขออธิบายเป็นข้อ ๆ ดังนี้นะคะ
1. อายุ 7 เดือน นั่งเองได้ นั่งปล่อยมือได้ถือว่าปกติค่ะ ถ้าเอี้ยวตัวได้ด้วยถือว่าถ่ายน้ำหนักได้ดี ส่วนการคลาน จะเริ่มได้ตอนอายุ 8-9 เดือน การที่ลูกพยายามที่จะสาวที่กั้นเพื่อยืน ถือว่าเป็นพัฒนาการที่ดีค่ะ
2. ปกติอายุ 8-10 เดือน เด็กจะชอบเล่นเสียงซ้ำ ๆ ควรบวกคำที่มีความหมายด้วย เช่น ลูกออกเสียง มา มา มา คุณแม่อาจจะเติมเป็นคำว่า มา มา มา แม่
3.การตบมือบาย ๆ จะเริ่มได้ช่วงอายุ 10-12 เดือน
4.ถ้าอายุเกิน 10 เดือน เรียกชื่อแล้วลูกไม่หันมาหา ค่อยไปปรึกษาแพทย์ค่ะ แต่ถ้าหากสงสัยว่าลูกหูตึงก็ควรไปตรวจเลย ไม่ต้องรอค่ะ
การขว้างปาสิ่งของ อาจเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งของเด็ก เช่น การมีเสียง การกลิ้ง ของสิ่งของที่ปา แต่ถ้าการขว้างปาสิ่งของด้วยอาการ โกรธ โมโห คุณแม่ต้องไม่อนุญาติให้น้องทำ คุณแม่ต้องบอกน้องว่า "หยุด ไม่ปา" "ของเล่นมีไว้เล่นค่ะ" บอกด้วยเสียง และสีหน้าที่เข้ม หนักแน่น (แต่ไม่ต้องตะโกน หรือตะคอกเด็ก) และให้เก็บ โดยคุณแม่จับมือน้องเก็บของชิ้นนั้น การทุบสิ่งของ ต้องสอนน้องว่าของเล่นชิ้นนั้นมันสามารถทำได้มากกว่าการทุบ เช่น กลิ้ง เขย่า เป็นต้น การที่เด็กนั่งเล่นคนเดียวไม่ได้ การเล่นที่มีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่น เด็กได้เรียนรู้ มีทักษะทางสังคม ภาษา ดีแล้วค่ะ
เด็กขี้น้อยใจ มักเป็นเด็กปรับตัวยากกว่าเด็กแบบอื่น และมีโอกาสมีความภาคภูมิใจในตัวเองน้อยกว่าเด็กอื่น โดยสาเหตุส่วนใหญ่อาจจะมาจากคุณพ่อคุณแม่ที่ดุ ใช้เสียงดัง ค่อนข้างบ่อย ดังนั้น ในเวลาปกติทั่วๆ ไป ก่อนจะมีการขัดใจเกิดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมความภาคภูมิใจในตัวเองของลูกด้วยการสนับสนุนในทำกิจกรรมง่ายๆที่สนุกสนาน และสร้างสรรค์ เป็นโอกาสให้ได้รับคำชมเชย และกำลังใจจากคุณพ่อคุณแม่ ความใกล้ชิด การแสดงความรักด้วยการโอบกอดหรือหอมแก้ม รวมถึงการสนทนาดี ๆจะทำให้เด็กจิตใจมั่นคงขึ้น แต่ในเวลาที่เด็กทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม ก็จำเป็นต้องมีวินัย และคำชี้แนะจากคุณพ่อคุณแม่ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องใช้ความหนักแน่น จริงจัง แต่ ไม่ใช่การแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดที่ไร้เหตุผล การบอกลูกถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ อย่างชัดเจนและชื่นชมเมื่อเค้าปรับเปลี่ยนท่าที ทำในสิ่งที่ดีขึ้น จะช่วยลดปัญหาการน้อยใจ อย่างไรก็ตาม หากลูกรู้สึกเสียใจอยู่ในมุมเงียบ ๆ หรือร้องไห้โฮ ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรใช้เป็นโอกาสในการสอน ให้ลูกรู้จักบอกเล่าด้วยการแสดงความเข้าใจความรู้สึกของลูก เช่น บอกกับลูกว่า หนูเสียใจที่แม่ไม่ให้แแย่งของเล่นน้อง แม่รู้ว่าหนูเสียใจ แต่แม่ให้หนูแย่งน้องไม่ได้ จากนั้น ให้เวลาเด็กในการจัดการกับอารมณ์ของตัวเองลำพังสักครู่ แล้วจึงชี้ชวนให้มีกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อไม่หมกมุ่นกับอารมณ์ด้านลบจนเกินไป หากทำเช่นนี้สม่ำเสมอ ปัญหาความขี้น้อยใจจะลดหายไปค่ะ
โดยปกติแล้ว คุณครูจะมีเทคนิคในการดึงความสนใจของหนูน้อยจอมซนอยู่แล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการจัดชั้นเรียนที่ห้องเรียนไม่ใหญ่มากเกินไป ให้หนูน้อยนั่งใกล้คุณครูหรือแถวหน้า พร้อมทั้งมอบหมายกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวไปมา หรือสร้างสรรค์ เช่่น เดินแจกสมุดให้เพื่อน หรือเดินเก็บงานมาส่งคุณครู
นอกจากนี้คุณครูสามารถสอนให้เด็กเรียนรู้การควบคุมตนเอง เช่น นั่งอยู่กับที่ จากช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 5 - 10 นาที แล้วเพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ เป็นครึ่งชม. หรือ 1 ชม. และมีการให้การชื่นชมหรือใช้พลังจากกลุ่มเพื่อนฝูง ให้เด็กมีความนิ่ง และมีวินัยได้มากขึ้น
แต่ถ้าคุณครูสังเกตว่าน้องไม่นิ่ง จนแตกต่างจากเด็กคนอื่นมาก และคุณครูไม่สามารถจัดการได้ รวมถึงไม่มีสมาธิในการเรียนรู้ และอาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคสมาธิสั้นหรือโรคอื่นๆที่รบกวนการเรียนรู้ของลูก ลองปรึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณครู และพิจารณาการปรึกษาคุณหมอ ตามความเหมาะสมนะคะ
เด็กที่ไม่เคยห่างพ่อแม่ ย่อมมีความวิตกกังวลและแสดงออกด้วยการร้องไห้ได้ค่ะ ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องก้าวข้ามต่อไป คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยน้องได้ โดยบอกเล่าถึงสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เช่น สถานที่ที่กว้างใหญ่ ของเล่นและอุปกรณ์ที่สนุกสนาน คุณครูใจดีและเพื่อนๆมากมาย
การบอกเล่านั้น สามารถทำได้ในรูปแบบตรงๆ เช่น พาไปดูสถานที่ก่อนล่วงหน้า ให้เห็นบรรยากาศที่ดี มีโอกาสพูดคุยกับพี่ๆที่กำลังเล่นกันสนุกสนาน หรือการเล่าผ่านนิทาน การละเล่น เช่น การเล่นหุ่นมือ หรือ การวาดรูป ความเข้าใจที่ดีต่อโรงเรียนจะช่วยให้ลูกนึกรักและอยากไปโรงเรียนเป็นทุนอยู่ก่อน ซึ่งถือเป็นภูมิปกป้องที่จะช่วยให้ลูกจัดการความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น และช่วงแรกของการไปโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใกล้ชิดมากขึ้น โดยไปรับลูกให้ตรงเวลา อย่าปล่อยให้คอยนาน รับฟังทั้งเรื่องสนุก และความกังวลใจของลูก พร้อมให้คำแนะนำในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคุณครูและเพื่อนๆของเค้า ลูกก็จะสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น และร้องไห้น้อยลงเองค่ะ
ความรักความห่วงใยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกคนค่ะ แต่ต้องยอมรับความจริงว่าลูกจะค่อยๆเรียนรู้การดูแลตนเอง การเคารพกฎเกณฑ์ของสังคม และพ่อแม่มีหน้าที่าสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้เช่นนี้ หากเราปล่อยให้ความห่วงใยมาครอบงำ ลูกจะขาดความมั่นใจในการเรียนรู้ เราสามารถส่งเสริมให้ลูกดูแลตนเองไ้ด้ ด้วยการฝึกให้สื่อสารบอกความต้องการ ช่วยเหลือตัวเองตามวัย ไม่ตอบสนองหรือช่วยทำทุกอย่างให้จนหมด ในทางกลับกัน เมื่อลูกช่วยเหลือหรือแสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่ต้องชื่นชมยินดี แสดงความภูมิใจในตัวลูก เด็กที่มีทักษะพื้นฐานทางสังคมที่ดี จะมีทักษะการปกป้องไม่ให้ผู้อื่นมาทำร้ายได้ นอกจากนี้ยังมีครูดูแลความเป็นไป ให้เด็กเล่นด้วยกัน หากลูกไม่มีปัญหาในการเล่นหรือเล่นยั่วยุคนอื่น โอกาสการถูกทำร้ายก็มีไม่มากค่ะ แต่ทั้งนี้เด็กวัย 2 ขวบเศษๆ อาจมีข้อจำกัดในเรื่องความเป็นเจ้าของและการแบ่งปัน โอกาสของการทำร้ายกันที่พบได้บ่อยๆ คือการดึงของเล่นของคนอื่น ถ้าสอนลูกได้อย่างชัดเจนพอ ก็จะลดความเสี่ยงจากการถูกทำร้ายของเด็กวัยนี้ได้ หวังว่าพ่อแม่จะมั่นใจในการส่งลูกไปโรงเรียนได้มากขึ้นนะคะ
1. จับนอนคว่ำได้ค่ะ แต่ที่นอนต้องแข็งตึง ไม่อ่อนยวบ ไม่นุ่มจนเกินไป และต้องไม่มีผ้าห่มหรือหมอนนิ่มๆมารอง เพื่อให้จมูกน้องไม่จม เวลาลูกตื่นให้คุณแม่จับลูกอยู่ในท่าคว่ำ คุณแม่จะได้เล่นกับลูก เพื่อให้ลูกได้เสริมสร้างพัฒนาการ แต่เวลานอนกลางคืน ควรให้นอนหงายค่ะ
2. ส่วนพัฒนาการของเด็กในวัย 1 เดือน คือ ในท่าคว่ำเด็กพลิกหน้าซ้ายขวาได้ จ้องหน้า สบตา มองตาม เล่นเสียงในคอ (ทำเสียงอือ อา) เมื่อมีเสียงดังจะสะดุ้งผวา หยุดฟังเสียง และขยับแขนขาได้ 2 ข้างได้เท่ากัน
เวลาเห็นเพื่อนของลูกๆร้องไห้ ลูกอาจจะมีท่าทีกังวลหรือมีสีหน้าไม่สบายใจได้ คุณแม่ควรยิ้มรับความกังวลของลูกนะคะ อาจจะอธิบายให้ลูกฟังได้ว่า เพื่อนๆคงไม่ชินกับโรงเรียน อาจจะตื่นเต้น สามารถแนะนำให้ลูกเข้าใจความรู้สึกของลูกและเพื่อนๆ หรือส่งเสริมให้เค้าคอยปลอบใจเพื่อนๆได้ด้วยท่าทีที่หนักแน่นมั่นคงของเราจะเป็นหลักให้กับลูก ทำให้ลูกเกิดความมั่นใจ และลูกจะเป็นหลักให้เพื่อนๆ อีกต่อหนึ่งได้ เวลาส่งลูกที่โรงเรียน หากลูกมีสีหน้าหวั่นไหว วิตกกังวล คุณแม่สามารถสวมกอด หอมแก้มสักฟอด 2ฟอด แล้วยิ้มหวานบอกบ๊ายบายลูกได้เลย ไม่ควรมีท่าทีละล้าละลัง เพราะจะทำให้ลูกเกิดความวิตกกังวลมากขึ้น เมื่อละสายตาจากคุณแม่ หนูน้อยจะรู้จักวิธีปรับตัว และสนุกสนานกับบรรยากาศของโรงเรียนมากขึ้นค่ะ